พระมหาสมปอง กล่าวเชิญชวนทุกๆ ท่านมาร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ทำความดีถวายในหลวง

trueplookpanya

counters

วันอาทิตย์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2554

พระราชประวัติรัชกาลที่ 9


รู้เรื่องในหลวงของเรา


• วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๗๐ ตรงกับวันจันทร์ เดือนอ้าย ขึ้น ๑๒ ค่ำ ปีเถาะ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช พระราชโอรสพระองค์เล็กในสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช กรมขุนสงขลานครินทร์ และหม่อมสังวาลย์ ประสูติ ณ โรงพยาบาลเมานท์ออเบร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาซูเสตต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เหตุที่ประสูติที่อเมริกา เพราะขณะนั้น พระบรมราชชนก เสด็จทรงศึกษาและปฏิบัติหน้าที่ราชการในต่างประเทศ ทรงมีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล




• พระนาม “ ภูมิพลอดุลยเดช ” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้รับพระราชทานมาจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ มีความหมายว่า “ ผู้ทรงกำลังอำนาจไม่มีอะไรเทียบในแผ่นดิน ”




• หลังจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงประกาศสละราชสมบัติเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้กราบทูลเชิญพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล ซึ่งเป็นพระบรมเชษฐาธิราช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๘ แห่งราชจักรีวงศ์ จากนั้นในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๗๘ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช ทรงได้รับเฉลิมพระนามเป็น “ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ” ในครั้งนั้นทั้งสองพระองค์ยังประทับอยู่ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์




• ในปี ๒๔๘๐ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สายพระเนตรสั้นลง เป็นเหตุให้ต้องทรงฉลองพระเนตรนับตั้งแต่นั้นมา




• ในปี ๒๔๘๘ หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิ้นสุดลง รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ซึ่งขณะนั้นทรงพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา เสด็จกลับมาประทับเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทย ในการเสด็จนิวัตสู่ประเทศไทยครั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในฐานะพระเจ้าน้องยาเธอฯ ได้เสด็จกลับมาด้วย โดยได้เสด็จถึงประเทศไทยเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๔๘๘ อันตรงกับวันพระราชสมภพ ขณะมีพระชนมายุครบ ๑๘ ปีบริบูรณ์




• ใน วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๔๘๙ ประชาชนชาวไทยต้องประสบกับความสูญเสียอย่างใหญ่หลวง เมื่อ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต อย่างกระทันหันด้วยพระแสงปืน ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง และในวันเดียวกันนี้เอง พระบรมวงศานุวงศ์และคณะรัฐมนตรีก็ได้กราบบังคมทูล อัญเชิญสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น พระมหากษัตริย์ลำดับที่ ๙ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ และได้มีการประกาศเฉลิมพระนามว่า “ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ” แต่เนื่องจากในขณะนั้นทรงมีพระชนมายุเพียง ๑๙ พรรษา ยังไม่สามารถบริหารราชการแผ่นดินด้วยพระองค์เองได้ อีกทั้งยังมีพระราชภารกิจเรื่องการศึกษา จึงได้มีการแต่งตั้งพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร และพระยามานวรราชเสวี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์




• วันที่ ๑๙ สิงหาคม ๒๔๘๙ ได้เสด็จกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์พร้อมสมเด็จพระราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธออีกครั้ง โดยก่อนจากประเทศไทยในครั้งนั้น ได้ทรงเสด็จไปถวายบังคมลาพระบรมศพพระบรมเชษฐาธิราชที่พระบรมมหาราชวัง ขณะที่ประทับรถยนต์พระที่นั่งไปยังสนามบินดอนเมือง ได้มีประชาชนคนหนึ่งตะโกนว่า “ อย่าละทิ้งประชาชน ” ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงมีพระราชนิพนธ์เรื่อง “ เมื่อข้าพเจ้าจากสยามมาสู่สวิตเซอร์แลนด์ ” ว่าทรงอยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า “ ถ้าประชาชนไม่ “ ทิ้ง ” ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะ “ ละทิ้ง ” อย่างไรได้ แต่รถวิ่งเร็วและเลยไปไกลเสียแล้ว ..”




• เมื่อเสด็จกลับไปยังประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อศึกษาต่อ ก็ได้ทรงเปลี่ยนจากสาขาวิทยาศาสตร์ มาทรงศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ และนิติศาสตร์ เพื่อเตรียมพระองค์ในการเป็นพระประมุขของประเทศ




• ในปี ๒๔๙๓ เมื่อเสด็จนิวัตกลับประเทศไทยแล้ว ได้ทรงกำหนดพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลตั้งแต่วันที่ ๑๘ มีนาคม จนถึงวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๓ อันเป็นวันถวายพระเพลิงพระบรมศพ




• หลังจากนั้นใน วันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๙๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯก็ได้ทรงจัดพระราชพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ซึ่งพระราชพิธีราชาภิเษกครั้งนี้ นับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรกสำหรับพระมหากษัตริย์ไทยในยุคประชาธิปไตย ที่ได้ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่นเดียวกับปวงชนชาวไทย




• ในวันที่ ๕ พฤษภาคม ๒๔๙๓ ได้ทรงจัด พระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นพระมหากษัตริย์ปกครองแผ่นดินอย่างสมบูรณ์ โดยมีพระปรมาภิไธยว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ” ซึ่งในครั้งนั้นได้ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “ เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม ” พร้อมกันนี้ได้ทรงสถาปนาเฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ พระอัครมเหสี ขึ้นเป็น “ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี ”




• ในวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงผนวช ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง โดยมีสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช (หม่อมราชวงศ์ชื่น นภวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงเป็นพระราชอุปชฌาย์ และสมเด็จพระสังฆราชได้ถวายพระสมณฉายานามว่า “ ภูมิพโล ภิกขุ ” ทรงประทับจำพรรษา ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงดำรงอยู่ในเพศบรรพชิตอยู่ ๑๕ วันจึงลาผนวชเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๔๙๙ ในระหว่างทรงผนวช ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีเป็นผู้สำเร็จราชการทรงปฏิบัติราชการแผ่นดินแทนพระองค์ ซึ่งทรงปฏิบัติราชกรณียกิจในตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้อย่างเรียบร้อยเป็นที่พอพระราชหฤทัย จึงได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี นาถ ในปีเดียวกันนี้เอง




• ในปี ๒๕๐๒ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ได้ เสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศอย่างเป็นทางการครั้งแรกในรัชกาล โดยเริ่มจากประเทศสาธารณรัฐเวียดนาม อินโดนีเซีย และสหภาพพม่า และในปี ๒๕๐๓ ก็ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในทวีปยุโรป รวม ๑๔ ประเทศ ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๐๓-วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๐๔ ซึ่งในการเสด็จฯเยือนต่างประเทศครั้งนั้น นอกจากจะช่วยกระชับความสัมพันธ์กับมิตรประเทศแล้ว ทั้งสองพระองค์ยังได้ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจจนบังเกิดผลสำเร็จ นำผลประโยชน์มาสู่ประเทศชาติและประชาชนชาวไทยมากมาย ทรงเป็นที่กล่าวขานถึงพระบารมีเลืองลือขจรไกล




• ในปี ๒๕๐๘ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงเจริญพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก จึงทรงโปรดเกล้าฯให้มีพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลในวโรกาสมหามงคลข้างต้นตามโบราณราชประเพณี ที่นิยมเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระเจ้าอยู่หัวฯทรงเจริญพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระบรมราชบุรพการี




• ในวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๑๔ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงกระทำ “ พระราชพิธีรัชดาภิเษก ” อันเป็นพิธีเฉลิม ฉลองสิริราชสมบัติครบ ๒๕ ปี และในปี ๒๕๒๐ คณะบุคคลอันประกอบด้วยประชาชนทุกสาขาอาชีพ ได้พร้อมกันแสดงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ด้วยการน้อมเกล้าฯถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” พร้อมจัดงานถวายพระพรและเฉลิมพระเกียรติในวันเฉลิมพระชนมพรรษา โดยใช้ชื่อว่า “ ๕ ธันวามหาราช ” ต่อมาเพื่อความพร้อมเพรียงในหมู่พสกนิกรชาวไทยในอันที่จะถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” จึงได้มีการสำรวจประชามติทั่วประเทศ ปรากฎว่าประชาชนมีความเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ถวายพระราชสมัญญา “ มหาราช ” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๓๐




• วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๙ คณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญา “ อัครศิลปิน ” แด่พระองค์ ด้วยทรงเป็นเลิศในศิลปะหลายสาขา อาทิ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และนฤมิตศิลป์ เป็นต้น คำว่า “ อัครศิลปิน ” หมายถึง ผู้มีศิลปะอันเลอเลิศ หรือผู้เป็นใหญ่ในศิลปินก็ได้ เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นอกจากจะทรงเป็นเลิศในศิลปะทั้งปวงแล้ว ยังทรงมีคุณูปการได้ทรงอุปถัมภ์แก่ศิลปินทั้งหลายด้วย




• วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑ ได้มีการจัด “ ราชพิธีรัชมังคลาภิเษก ” อันเป็นพระราชพิธีเฉลิมฉลองเนื่องใน อภิลักษขิตสมัยที่ทรงครองราชสมบัติยาวนานกว่าสมเด็จพระมหากษัตราธิราชเจ้าแห่งราชอาณาจักรไทยทุกพระองค์ในอดีต ซึ่งเป็นมหามงคลวโรกาสที่หาได้ยากยิ่ง คือ ทรงครองราชย์สมบัติเป็นเวลา ๔๒ ปี ๒๒ วัน ซึ่งเป็นเวลาจำนวนปีและวันเท่ากับสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระอัยยิกาธิราช




• วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๓๙ เป็นวันที่ ทรงครองราชย์สมบัติครบ ๕๐ ปี รัฐบาลได้จัดงานเฉลิมฉลองยิ่งใหญ่เพื่อถวายเป็นราชสักการะและถวายพระพรชัยมงคล พระองค์ได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่องานว่า “ พระราชพิธีกาญจนาภิเษก ” นับเป็นมหามงคลสมัยพิเศษอีกวาระหนึ่งที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย




• วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๔๓ ได้มีงาน “ พระราชพิธีสมมงคล พระชนมายุ ๗๓พรรษา เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ” ( สมมงคล อ่านว่า สะ-มะ-มง-คล)คือวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระชนมายุได้ ๒๖,๔๖๙ วัน เท่ากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑




• วันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๙ ปีนี้ เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ได้ทรงโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่องานว่า “ พระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ ๖๐ ปี ” ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งพสกนิกรชาวไทยต่างร่วมใจกันจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อถวายเป็นราชสักการะ และร่วมเฉลิมฉลองวโรกาสมหามงคลครั้งนี้ทั่วประเทศ ที่สำคัญคือจะมีประมุขและพระบรมวงศานุวงศ์จากมิตรประเทศมาร่วมถวายพระพรด้วย




• และใน วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ จะทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ซึ่งได้โปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อมาแล้วว่า “ พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ”ทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น คือเหตุการณ์สำคัญต่างๆที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ” ซึ่งตลอดระยะเวลาแห่งการครองราชย์ นับตั้งแต่วันที่ ๙ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ ตราบจนปัจจุบัน เป็นเวลา ๖๐ ปีเต็ม จนกล่าวได้ว่าทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกาย พระราชหฤทัย และพระสติปัญญาบำเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ทั้งปวงเพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาลตลอดมา จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใด หรือประมุขของประเทศใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้น ในโอกาสมหามงคลสมัยนี้ จึงขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยทั้งในและนอกประเทศได้น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่าน ด้วยการตั้งใจ “ ทำความดี ” และ “ รู้รักสามัคคี ” ถวายเป็นพระราชสักการะ ให้สมกับที่พวกเราได้มีบุญเกิดบนผืนแผ่นดินไทย ที่มี “ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ” เป็นพระประมุขของชาติ

พระราชประวัติรัชกาลที่ ๘


พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ พระอัฐมรามาธิบดินทร (20 กันยายน พ.ศ. 2468 - 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489) พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ทรงเป็นพระโอรสของสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็น สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก) และพระราชชนนีศรีสังวาลย์ (ภายหลังดำรงพระยศเป็น "สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี") ทรงมีพระพี่นางและพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระชนกชนนีอีก 2 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช (ภายหลังทรงขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช)

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ลำดับที่ 8 แห่งราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 ขณะที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษาและประทับอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ดังนั้น จึงมีการแต่งตั้งคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินจนกว่าพระองค์จะทรงบรรลุนิติภาวะ

พระองค์เสด็จนิวัติพระนครครั้งแรกภายหลังทรงราชย์เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 และครั้งที่สองเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ระหว่างกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน พระองค์เสด็จสวรรคตด้วยทรงต้องพระแสงปืนเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง รวมระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติทั้งสิ้น 12 ปี

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8ในปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้สำนักพระราชวังจัดสร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้น ซึ่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี สมุหพระราชวัง ได้ปรับปรุงพระราชลัญจกรรูปพระโพธิสัตว์สวนดุสิต ที่เคยใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ โดยการสร้างพระราชลัญจกรนั้น ใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ "อานันทมหิดล" ซึ่งหมายถึง เป็นที่ยินดีแก่แผ่นดิน ดังนั้น จึงได้ใช้รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีหมายความเดียวกันว่า เป็นความยินดีและเป็นเดชยิ่งในพื้นพิภพ มาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8 นั้น เป็นตรางา ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง 7 เซนติเมตร มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับอยู่เหนือบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อยอยู่เหนือบัวบาน ซึ่งหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วอยู่ด้านหลังแถบรัศมี ซึ่งมีข้อแตกต่างจากพระราชลัญจกรที่ใช้ในรัชกาลที่ 5 คือ มีการเพิ่มรูปฉัตรตั้งไว้ข้างแท่นที่ประทับของพระโพธิสัตว์

พระราชประวัติ
ขณะทรงพระเยาว์
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ทรงเป็นพระโอรสของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก กับ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 11 ปีฉลู ตรงกับวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2468 ณ เมืองไฮเดลเบิร์ก ประเทศเยอรมนี ซึ่งสมเด็จพระราชบิดาทรงศึกษาวิชาการทหารเรืออยู่ที่ประเทศเยอรมัน โดยได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า หม่อมเจ้าอานันทมหิดล มหิดล หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาขึ้นเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดล สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า นันท

พระองค์ทรงมีสมเด็จพระเชษฐภคินี 1 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และ สมเด็จพระอนุชา 1 พระองค์ คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

เมื่อทรงพระเยาว์ได้ตามเสด็จสมเด็จพระราชบิดาและสมเด็จพระราชชนนีไปยังประเทศต่าง ๆ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา ซึ่งสมเด็จพระราชบิดาทรงเข้าศึกษาวิชาแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาวาร์ด สหรัฐอเมริกา ในระหว่างปี พ.ศ. 2469 - 2471 แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อพระชนมายุได้ 3 พรรษา ประทับ ณ วังสระปทุม ในระหว่างนั้นสมเด็จพระราชบิดาทรงพระประชวรและเสด็จทิวงคต ดังนั้น พระองค์จึงอยู่ในความดูแลของสมเด็จพระราชชนนีเพียงพระองค์เดียว

พระองค์ทรงเริ่มการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนมาแตร์เดอี และเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนเทพศิรินทร์ หลังจากเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 นั้น สมเด็จพระราชชนนีได้ขอพระราชทานพระราชานุญาตจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการที่จะทรงนำพระโอรส และพระธิดาไปประทับที่เมืองโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยพระองค์ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนมีเรมองต์ ต่อมาย้ายไปศึกษาที่โรงเรียนนูแวลเดอลา ซูวิสโรมองต์ และ ทรงศึกษาภาษาไทย ณ ที่ประทับ โดยมีพระอาจารย์ตามเสด็จไปจากกรุงเทพ[6]

การขึ้นทรงราชย์
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เมื่อยังทรงพระเยาว์วันที่ 2 มีนาคม
พ.ศ. 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติ และมิได้ทรงสมมติเจ้านายพระองค์ใดพระองค์หนึ่งเป็นรัชทายาท ดังนั้น คณะรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรจึงได้อัญเชิญเสด็จพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันมหิดลซึ่งเป็นเจ้านายเชื้อพระบรมวงศ์พระองค์ที่ 1 ในลำดับพระราชสันตติวงศ์แห่งกฎมณเฑียรบาลว่าด้วยการสืบราชสันตติวงศ์ พ.ศ. 2467 ขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์ต่อไป ตั้งแต่วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477 โดยได้รับการเฉลิมพระนามเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2477 ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล[8][9]

ในขณะนั้นพระองค์ทรงมีพระชนมายุ 8 พรรษา และยังคงประทับอยู่ ณ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จึงต้องมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพื่อบริหารราชการแผ่นดินแทนจนกว่าจะทรงบรรลุนิติภาวะ ได้แก่ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภา และ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)

เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2478 พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์สิ้นพระชนม์ สภาผู้แทนราษฎรจึงได้แต่งตั้งให้นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเมื่อเจ้าพระยายมราช
(ปั้น สุขุม) ถึงแก่อสัญญกรรม จึงมีการแต่งตั้งให้นายปรีดี พนมยงค์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์แทน หลังจากนั้น เมื่อเจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน (อุ่ม อินทรโยธิน) ถึงแก่อสัญญกรรม รวมทั้ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาทิตย์ทิพอาภาได้กราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง นายปรีดี พนมยงค์ จึงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์เพียงผู้เดียว จนกว่าสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จกลับสู่พระนคร


การเสด็จนิวัติพระนคร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงฉายที่พระตำหนักวิลล่าวัฒนา สวิสเซอร์แลนด์ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2รัฐบาลได้กราบบังคมทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนคร เมื่อปลายปี พ.ศ. 2477 เพื่อประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่เนื่องจากพระพลานามัยของพระองค์ไม่สมบูรณ์จึงได้เลื่อนกำหนดออกไปก่อน และได้กราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ อีกครั้งในปี พ.ศ. 2478 แต่ก็ทรงติดขัดเรื่องพระพลานามัยอีกเช่นกัน หลังจากนั้น รัฐบาลได้ส่งพลโท พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว.สิทธิ์ สุทัศน์) ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมราชชนนีที่โลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อทูลอัญเชิญสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้งในปี พ.ศ. 2479 อย่างไรก็ตาม ในระหว่างเตรียมการเสด็จนิวัติพระนครนั้น ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลใหม่ คณะรัฐบาลใหม่จึงขอเลื่อนการรับเสด็จออกไปอย่างไม่มีกำหนด

หลังจากนั้น รัฐบาลได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้ง ในครั้งนี้สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เสด็จพระราชดำเนินจากเมืองโลซานน์ที่ประทับโดยทางรถไฟมายังเมืองมาเชลล์ เพื่อประทับเรือเมโอเนีย ในการเสด็จพระราชดำเนินกลับสู่ประเทศไทย และเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2481 เรือพระที่นั่งได้เทียบจอดทอดสมอที่เกาะสีชัง รัฐบาลได้จัดเรือหลวงศรีอยุธยาออกไปรับเสด็จมายังจังหวัดสมุทรปราการ ณ ที่นั้น สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ได้เสด็จไปคอยรับพระราชนัดดาและพระสุนิสาด้วย หลังจากนั้น จึงได้เสด็จโดยเรือหลวงศรีอยุธยาเข้าสู่กรุงเทพมหานคร และประทับที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ซึ่งนับเป็นการเสด็จนิวัติประเทศไทยเป็นครั้งแรกหลังจากเสด็จขึ้นทรงราชย์เป็นพระมหากษัตริย์ ทรงใช้เวลาอยู่ในประเทศไทยเป็นระยะเวลาประมาณ 2 เดือน จึงได้เสด็จพระราชดำเนินกลับไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สงบลง พระองค์จึงเสด็จนิวัติพระนครอีกครั้ง พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมราชชนนี และสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2488 ซึ่งการเสด็จนิวัติประเทศในครั้งนี้ ทางราชการได้จัดพระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวังเป็นที่ประทับ และเนื่องจากพระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะแล้ว จึงสามารถบริหารราชการแผ่นดินโดยไม่ต้องมีผู้สำเร็จราชการแผ่นดินอีกต่อไป[14]

สวรรคต

พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลดูบทความหลักที่ เหตุการณ์สวรรคตของรัชกาลที่ 8
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทรงตั้งพระทัยจะทรงศึกษาปริญญาเอก สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยโลซานน์ ที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์จนเรียบร้อยแล้วจึงจะเสด็จนิวัติพระนครเป็นการถาวรและทรงเข้ารับการบรมราชาภิเษกในภายหลัง แต่พระองค์ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อนในวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 เวลาประมาณ 9 นาฬิกา ด้วยสาเหตุทรงต้องพระแสงปืน ณ ห้องพระบรรทม พระที่นั่งบรมพิมาน ภายในพระบรมมหาราชวัง ก่อนกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพียง 4 วัน

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จสวรรคต ได้อัญเชิญพระบรมศพมาประดิษฐาน ณ พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท พระบรมมหาราชวัง และจัดให้มีพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในระหว่างวันที่ 28-29 มีนาคม พ.ศ. 2493 ณ พระเมรุมาศ ท้องสนามหลวง วันรุ่งขึ้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จพระราชดำเนินเก็บพระบรมอัฐิ และอัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิประดิษฐานที่บุษบงเหนือพระแท่นแว่นฟ้าทองภายในพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท มุขตะวันตก และจัดให้มีการพระราชกุศลพระบรมอัฐิขึ้น หลังจากนั้น ได้อัญเชิญพระโกศพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐาน ณ พระวิมานชั้นบน พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท

วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2493 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินอัญเชิญพระผอบพระบรมราชสรีรางคารพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ไปยังวัดสุทัศน์เทพวราราม และอัญเชิญพระบรมราชสริรางคารบรรจุลงในหีบ พร้อมทั้งเคลื่อนหีบพระบรมราชสรีรางคารเข้าสู่พระพุทธบัลลังก์ พระศรีศากยมุนี พระประธานในพระวิหารหลวง วัดสุทัศน์เทพวราราม


การเฉลิมพระปรมาภิไธย

เนื่องจากสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ไม่ได้ทรงประกอบการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี ดังนั้น เพื่อเป็นการเฉลิมพระบรมขัติยราชอิสสริยยศ รวมทั้ง ยังได้ถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น นพปฎลเศวตฉัตร ซึ่งใช้ในการกางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิ จึงได้มีการประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลขึ้นเป็น "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมล รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร์ สยามินทราธิราช" โดยประกาศเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489

หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในวโรกาสพระราชพิธีฉลองทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ถวายเพิ่มพระนามพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมงคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตน สรณารักษ์วิศิษฎศักตอัครนเรศรามาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราชบรมนาถบพิตร"

นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาล มหารัษฎธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร" และอย่างสังเขปว่า "พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร"

วันเสาร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2554

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

รัชกาลที่ ๗ ครองราชย์ ๙ ปี (พ.ศ. ๒๔๖๘-๒๔๗๗) พระชนมายุ ๔๘ พรรษา

เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๖ มีพระนามเดิมว่าสมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ เป็นพระราชโอรสพระองค์เล็กของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้รับสถาปนาเป็นกรมขุนสุโขทัยธรรมราชา เมื่อพระชนมายุได้ ๑๒ พรรษา ได้เสด็จไปศึกษาวิชาการทหารบก ที่ประเทศอังกฤษ และฝรั่งเศส

สำเร็จการศึกษาแล้วเสด็จกลับประเทศไทย เข้ารับราชการที่กองพันทหารปืนใหญ่ ที่ ๑ รักษาพระองค์ ในตำแหน่งผู้บังคับกองร้อย ต่อมาได้รับราชการในตำแหน่ง ผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบกชั้นปฐม ปลัดกรมเสนาธิการทหารบก ผู้บัญชาการกองพลทหารบกที่ ๒ แล้วได้ทรงกรมเป็นกรมหลวงสุโขทัยธรรมราชา

เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ในช่วงเวลาที่ เศรษฐกิจของประเทศและของโลกกำลังทรุดหนัก อันเป็นผลเนื่องมาจากสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ซึ่งพระองค์ก็ได้ทรงแก้ไขอย่างเต็มพระกำลังความสามารถจนประเทศไทย ได้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์นั้นได้

ในรัชสมัยของพระองค์ ไทยสามารถติดต่อกับนานาประเทศทางวิทยุ และโทรเลขได้โดยทั่วไปเป็นครั้งแรก ทรงพระราชทานนามหอสมุดแห่งชาติ พิมพ์พระไตรปิฎกเล่มใหม่ สร้างโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เปิดเดินรถไฟไปถึงชายแดนไทยติดต่อกับเขมร แก้ไขระบบการจัดเก็บภาษีอากรใหม่ ตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยประกาศพระราชบัญญัติเงินตรา และทรงตรากฎหมายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมาก สร้างสะพานพระปฐมบรมราชานุสรณ์ (สะพานพระพุทธยอดฟ้า ฯ)

วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ คณะราษฎร์ ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ต่อมาเมื่อวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๗ พระองค์ได้ตัดสินพระทัยสละราชสมบัติ ต่อมาได้เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๔ ณ ประเทศอังกฤษ

พระราชหัตถเลขาที่ทรงลาออกจากราชบัลลังค์ มีความตอนหนึ่งว่า

"ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร"



พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว


พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ตรงกับวันเสาร์ ขึ้น ๒ ค่ำเดือนยี่ ปีมะโรง ถ้าจะนับตามลำดับแล้ว ทรงเป็นพระราชโอรส องค์ที่ ๒๙ ของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง แต่ทรงเป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๑ ในสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ
๑. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิงพาหุรัดมณีมัย ประไพพรรณพิจิตรนริศราชกุมารี
๒. สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ (รัชกาลที่ ๖)
๓. สมเด็จเจ้าฟ้าตรีเพชรรุตม์ธำรงฯ
๔. สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศ์ภูวนาถ
๕. สมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์
๖. สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง สิ้นพระชนม์ยังพระเยาว์
๗. สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฏางค์เดชาวุธ
๘. สมเด็จเจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก
๙.สมเด็จเจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดช (รัชกาลที่ ๗)
ทรงเปี่ยมน้ำพระทัย เมื่อทรงพระเยาว์นั้น สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธได้รับการถวายพระอักษรจากครู ที่บรมพระชนกนาถทรงเลือกให้ โดยในด้านภาษาอังกฤษนั้น ทรงมีนายโรเบริต์ มอแรนต์ (Robert Morant) เป็นครูสอนภาษาอังกฤษ แล้วจึงได้เสด็จเข้าศึกษาในโรงเรียนราชกุมารในเขตพระบรมมหาราชวัง เมื่อทรงมีพระชนมายุ ๑๐ พรรษา ต่อจากนั้นได้ทรงศึกษาต่อในทวีปยุโรปเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ ตั้งแต่พระชนมายุ ๑๔ พรรษาเพราะสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงเล็งเห็นความสำคัญของการศึกษายังต่างประเทศ ทรงส่งพระราชโอรสไปทรงศึกษาต่อ เพื่อมีพระราชประสงค์ให้กลับมาเป็นกำลังสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน ให้รุ่งเรืองรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศ
สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงศึกษาในต่างประเทศนาน ๙ ปี ทรงศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยแซนด์เฮิร์ท และต่อวิชาพลเรือนในมหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด ในขณะที่ เจ้าฟ้าชายกำลังทรงเล่าเรียนอย่างมุ่งมั่นอยู่ ณ แดนไกลแสนไกลจากแผ่นดินสยาม สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้าวชิรุณหิศสยามมกุฎราชกุมาร ทิวงคตเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๓๗ ราชวงศ์จักรีจึงต้องสถาปนาสยามมกุฎราชกุมารพระองค์ใหม่ เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ นั้นทรงเป็นพระราชโอรสของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา เมื่อทิวงคตแล้ว สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงจึงทรงเลือกพระราชโอรส ทางสายสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ซึ่งเป็นพระขนิษฐาแท้ ๆ ของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา และสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีก็ทรงเป็นพระมเหสีชั้นภรรยาเจ้าอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงให้ถือว่าพระราชโอรสที่ประสูติจากสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาและสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีนั้นเสมือนมีพระราชมารดาเดียวกัน ดังนั้น แทนที่จะทรงจัดลำดับพระราชโอรสพระองค์ถัดไปของสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนาเพื่อเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชซึ่งก็คือสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช (พระราชบิดาของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙) ก็จึงทรงให้พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ ในสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี ขึ้นสืบพระราชสันติวงศ์ ซึ่งพระองค์นั้นก็คือ สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ กรมขุนเทพทวาราวดี เมื่อทรงมีพระกรุณาโปรดเกล้าสถาปนาขึ้นเป็น พระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารแล้ว พระราชพิธีสถาปนาจึงมีขึ้นที่กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ.๒๔๓๗ แล้วจากนั้นจึงมีการอัญเชิญประกาศสถาปนาฐานันดรศักดิ์พร้อมเครื่องราชอิสริยยศ และราชอิสริยาภรณ์ไปถวายสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารเสด็จกลับเมืองไทยแล้ว ก็ได้ทรงเข้ารับราชการทหารในกองทัพบก ทรงได้ดำรงพระยศเป็นนายพลเอก ราชองครักษ์ จเรทหารบก ผู้บังคับการกรมทหารมหาดเล็ก ในยามที่พระบรมชนกนาถเสด็จประพาสยุโรป พระองค์ก็ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน และในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงเสด็จสวรรคตท่ามกลางความวิปโยคโศกสลดทั่วทั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามกุฎราชกุมารก็ทรงโศกเศร้าเสียพระทัยอย่างยากที่จะพรรณนาได้ ในการสูญเสียพระบรมชนกนาถอย่างกะทันหันนั้น น้ำพระเนตรของเจ้าฟ้าชายชาติทหารถึงกับหลั่งรินมิขาดสาย ที่ว่ากะทันหันนั้นเพราะสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงประชวรแค่เล็ก ๆ น้อย ๆ เท่านั้น ตลอดเวลาที่ผ่านมามิได้เคยทรุดหนักอย่างที่ภาษาชาวบ้านเราเรียกกันว่า "ล้มหมอนนอนเสื่อ" และครั้งที่ทรงประชวรนั้น ก็มิได้มีผู้ใด ทูลให้พระองค์ทรงทราบ พระองค์เพิ่งได้ทรงทราบและถูกเชิญเสด็จมาเฝ้าพระอาการของพระบรมชนกนาถก็ในคืนที่พระอาการทรงเพียบหนักเกินเยียวยาแล้ว เมื่อเสด็จขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ ๖ สืบต่อจากพระบรมชนกนาถ ซึ่งพระองค์มีพระชนมายุ ประมาณ ๓๐ พรรษาทรงเป็นที่เทิดทูนจงรักแก่บรรดาเสนาข้าราชบริพารและพสกนิกรทั้งปวง ด้วยเพราะน้ำพระราชหฤทัยอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ในด้านพระราชกรณียกิจนั้น พระองค์ก็ทรงบริหารราชการแผ่นดินอย่างหนัก เพื่อสานต่อพระราโชบายของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงและทรงปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เกิดความพัฒนารุ่งเรืองอีกหลายต่อหลายด้าน ทรงริเริ่มจัดตั้งกองเสือป่า และลูกเสือ เพื่อปลูกฝั่งให้เด็กไทยมีความรักชาติและมีความกล้าหาญ นำวิชาทหารแบบใหม่ที่ได้ทรงศึกษามาเป็นแบบอย่างในการจัดระเบียบ กฎเกณฑ์ในการทหารใหม่ให้มีระบบทัดเทียมอารยประเทศ ทรงนำประเทศเข้าร่วมเป็นพันธมิตรในมหาสงครามโลก ครั้งที่ ๑ ด้วยพระปรีชาญาณอันลึกซึ้งจึงเป็นผลให้เกิดประโยชน์แก่แผ่นดินมากมายภายหลังที่พันธมิตรชนะสงคราม ทรงเปลี่ยนแปลงธงชาติไทยจากรูปช้างเผือกมาเป็นธงไตรรงค์ ทรงออกพระราชบัญญัตินามสกุล ทรงเป็นนักประชาธิปไตยทรงสร้างเมืองดุสิตธานีเป็นเมืองจำลองประชาธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นกษัตริย์ศิลปิน ทรงใส่พระทัยในการละคร การประพันธ์วรรณศิลป์วรรณกรรมทั้งปวง ทรงเป็นนักอักษรศาสตร์ที่ปราดเปรื่อง จนได้รับการขนานพระนามว่า "สมเด็จพระมหาธีราชเจ้า" พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงใฝ่พระทัยอยู่กับการประพันธ์และการปกครองประเทศจนมิได้ทรงมีพระมเหสีเลยจนกระทั่งพระชนมายุ ๔๐ พรรษาแล้ว และทรงตั้งพระทัยว่าจะมีพระมเหสีเพียงพระองค์เดียวเท่านั้น แต่ทว่าเมื่อพระนางเธอลักษมีลาวัณมิอาจมีพระราชโอรสถวายได้ พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ รับเจ้าจอมอีกท่านซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นพระวรชายาเธอพระอินทรศักดิ์ศจีและต่อมาเป็นสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิ์ศจีเมื่อทรงพระครรภ์
หากทว่าเป็นที่น่าเสียดายนัก พระราชกุมารในพระครรภ์ทรงตกเสียถึงสองครั้งสองคราว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงรับเจ้าจอมอีกท่านหนึ่งและทรงจดทะเบียนอภิเษกสมรสด้วยและทรงสถาปนาขึ้นเป็นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชธิดาเพียงพระองค์เดียว ประสูติแต่พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี คือ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพ็ชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพรรณวดี ประสูติก่อนที่พระบรมชนกนาถสวรรคตเพียง ๒ ชั่วโมง ในวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๔๖๘
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระชนมายุเพียง ๔๕ พรรษา ยังทรงอยู่ในพระชนมายุที่กำลังมุ่งมั่นพระราชหฤทัยในการปกครองทำนุบำรุงแผ่นดินได้อย่างเต็มที่ หากทว่า โรคร้ายและการเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นเป็นสิ่งที่ยากจะต่อสู้หรือขจัดไปได้ พระโรคโลหิตเป็นพิษได้รุกรานพระชนม์ชีพอย่างกระทันหันยิ่งนักรวมเวลา ๑๕ ปีที่พระองค์เสด็จอยู่ในสิริราชสมบัติแห่งจักรีบรมราชวงศ์
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัส เดือนอ้าย ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีฉลู จุลศักราช ๑๒๘๗ ตรงกับวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๔๖๘

พระราชประวัติรัชกาลที่ 5


พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระพุทธเจ้าหลวง ทรงเป็นรัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ พระบรมราชสมภพเมื่อ วันอังคาร เดือน 10 แรม 3 ค่ำ ปีฉลู 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 9 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเป็นที่ 1 ในสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ เสวยราชสมบัติ เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะโรง (พ.ศ. 2411) รวมสิริดำรงราชสมบัติ 42 ปี เสด็จสวรรคต เมื่อวันเสาร์ เดือน 11 แรม 4 ค่ำ ปีจอ (23 ตุลาคม พ.ศ. 2453) ด้วยโรคพระวักกะ รวมพระชนมพรรษา 58 พรรษา

พระองค์ทรงปกครองอาณาประชาราษฎร ให้ร่มเย็นเป็นสุข ทรงโปรดการเสด็จประพาสต้น เพื่อให้ได้ทรงทราบ

ถึงความเป็นอยู่ที่แท้จริงของราษฎร ทรงสนพระทัยในวิชาความรู้ และวิทยาการแขนงต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้บริหารประเทศให้ เจริญรุดหน้าอย่างรวดเร็ว พระองค์จึงได้รับถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระปิยมหาราช และมีความหมายว่า พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นที่รักยิ่งของปวงชน

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2396 เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่กรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ (ต่อมาภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีการเปลี่ยนแปลงพระนามเจ้านายฝ่ายในให้ถูกต้องชัดเจนตามโบราณราชประเพณีนิยมยุคถัดมาเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี) ได้รับพระราชทานนามว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษยรัตนราชรวิวงศ์วรุตมพงศบริพัตร สิริวัฒนราชกุมาร

พระองค์ทรงมีพระขนิษฐาและพระอนุชารวม 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2404 สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ ได้รับการสถาปนาให้ขึ้นทรงกรมเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรสังกาศ และเมื่อ พ.ศ. 2409 พระองค์ทรงผนวชตามราชประเพณี ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังจากการทรงผนวช พระองค์ได้รับการเฉลิมพระนามาภิไธยขึ้นเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ เมื่อปี พ.ศ. 2410 โดยทรงกำกับราชการกรมมหาดเล็ก กรมพระคลังมหาสมบัติ และกรมทหารบกวังหน้า

วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2410 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตภายหลังทรงเสด็จออกทอดพระเนตรสุริยุปราคา โดยก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะสวรรคตนั้น ได้มีพระราชหัตถเลขาไว้ว่า "พระราชดำริทรงเห็นว่า เจ้านายซึ่งจะสืบพระราชวงศ์ต่อไปภายหน้า พระเจ้าน้องยาเธอก็ได้ พระเจ้าลูกยาเธอก็ได้ พระเจ้าหลานเธอก็ได้ ให้ท่านผู้หลักผู้ใหญ่ปรึกษากันจงพร้อม สุดแล้วแต่จะเห็นดีพร้อมกันเถิด ท่านผู้ใดมีปรีชาควรจะรักษาแผ่นดินได้ก็ให้เลือกดูตามสมควร" ดังนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเสด็จสวรคต จึงได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องการถวายสิริราชสมบัติแด่พระเจ้าแผ่นดินพระองค์ใหม่ ซึ่งในที่ประชุมนั้นประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และพระสงฆ์ โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ได้เสนอสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ พระราชโอรสพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งที่ประชุมนั้นมีความเห็นพ้องเป็นเอกฉันท์ ดังนั้น พระองค์จึงได้รับการทูลเชิญให้ขึ้นครองราชสมบัติต่อจากสมเด็จพระราชบิดา [3] โดยในขณะนั้น ทรงมีพระชนมายุเพียง 15 พรรษา ดังนั้น จึงได้แต่งตั้งเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จนกว่าพระองค์จะทรงมีพระชนมพรรษครบ 20 พรรษา โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2411 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า

"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุฬาลงกรณ์เกล้าเจ้าอยู่หัว"

เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา จึงทรงลาผนวชเป็นพระภิกษุ และได้มีการจัดพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่ 2 ขึ้น เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 โดยได้รับการเฉลิมพระปรมาภิไธยในครั้งนี้ว่า พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยมีพระนามตามจารึกในพระสุบรรณบัฎว่า"พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฏ บุรุษรัตนราชรวิวงศ วรุตมพงศบริพัตร วรขัติยราชนิกโรดม จาตุรันบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ อุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรีบรมนาถ อดิศวรราชรามวรังกูร สุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนตบาทบงกชยุคล ประสิทธิสรรพศุภผลอุดม บรมสุขุมมาลย์ ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณอดุลยวิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิษฐศักดิ์สมญาพินิตประชานาถ เปรมกระมลขัติยราชประยูร มูลมุขราชดิลก มหาปริวารนายกอนันต มหันตวรฤทธิเดช สรรวิเศษสิรินทร อเนกชนนิกรสโมสรสมมติ ประสิทธิ์วรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปดลเศวตฉัตราดิฉัตร สิริรัตโนปลักษณมหาบรมราชาภิเษกาภิลิต สรรพทศทิศวิชิตชัย สกลมไหสวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทร มหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวศรัย พุทธาทิไตยรัตนสรณารักษ์ อดุลยศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร ปรมินทรธรรมิกหาราชาธิราช บรมนาถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตด้วยโรคพระวักกะ เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 เวลา 2.45 นาฬิกา รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา [4]



พระราชประวัติ รัชกาลที่ 4


กษัตริย์สยามฯ ผู้เปิดประตูสู่อารยประเทศ พระบาทสมเด็จพระปรเมทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหากษัตริย์ลำดับที่ 4 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงมีพระนามเดิมตามจารึกในพระ สุบรรณพัฎว่า “ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมติ เทววงศ์ พงศ์อิศวรกษัตริย์ ขัตติยราชกุมาร” ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ที่ 2 ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 และสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี ประสูติ วันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ปีชวด ฉศก จุลศักราช 1166 ตรงกับวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2347 เมื่อทรงมีพระชนมายุได้ 20 พรรษา ได้ทรงผนวช และทรงได้รับสมณนามฉายาจากพระอุปัชฌาย์ว่า วชิรญาโณ แปลเป็นภาษาไทยว่า “ ผู้มีญาณแข็งแกร่งประดุจดังเพชร ” ทรงเจริญในสมณเพศอยู่นานถึง 26 ปี ภายหลังจากที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จสวรรคต เมื่อปีพ.ศ. 2394 พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้ใหญ่กราบบังคมทูลอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวให้ลาสิกขาบทขึ้นครองราชสมบัติในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2394 มีพระนามว่า “ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”

รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นสมัยแรกของการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองเพื่อความทันสมัย ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเพื่อให้เห็นว่าไทยเป็นประเทศที่ มีอารยธรรมและเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักว่า ประเทศไทยต้องยกเลิกการแยกตัวอยู่อย่างโดดเดี่ยวอย่างที่เคยทำมา ต้องยอมทำการค้ากับต่างประเทศและรับความคิดเห็นใหม่แบบตะวันตก การแก้ไขปรับปรุงการปกครองบ้านเมือง ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภายนอกประเทศเป็นเรื่องจำเป็น รวมทั้งแก้ไขเปลี่ยนแปลงประเพณีล้าสมัย ทรงใช้พระบรมราโชบายเป็นสายกลางผสมผสานระหว่าง ตะวันตกและตะวันออก ดังพระราชดำริว่า “ อย่าติดของเก่า อย่าตื่นของใหม่ จงค้นหาดีในของเก่าของใหม่”

ตลอด ระยะเวลา 17 ปี ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชย์ ได้ทรงปกครองประเทศด้วยพระปรีชาสามารถ ทรงเป็นทั้งพระเจ้าแผ่นดินและผู้นำ คณะก้าวหน้า ในหมู่ชาวต่างประเทศต่างๆ นิยมเรียกขานพระองค์ว่า “ คิงส์มงกุฎ” พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงไว้ซึ่งทศพิธราชธรรม ทรงบริหารแผ่นดิน บำเพ็ญพระราชกรณียกิจใหญ่น้อย ทรงทำนุบำรุงบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้า เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นล้นพ้น อาทิเช่น

ทรง เปิดสัมพันธภาพทางการทูตกับต่างประเทศ นับว่าในรัชสมัยของพระองค์ ประเทศไทยได้ เป็นไมตรีกับประเทศที่สำคัญในทวีปยุโรปและอเมริกาเกือบทั้งหมด โปรดเกล้าฯให้แก้ไขหนังสือสัญญาทางพระราชไมตรีและการค้า ให้ความสะดวกทางการค้าแก่ชาวต่างประเทศมากขึ้นกว่าเดิม ทรงให้ยกเลิกค่าธรรมเนียมปากเรือ โดยให้เสียภาษีขาเข้าและขาออกแทน โปรดเกล้าฯ ให้นำข้าวสารไปขายยังต่างประเทศได้

โปรด เกล้าฯ ใช้ธรรมเนียมจับมืออย่างชาติตะวันตก ทรงเริ่มใช้ธรรมเนียมฝรั่ง โดยพระราชทานพระหัตถ์ให้แก่ผู้มาเข้าเฝ้าจับเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2409 และถือเป็นขนบธรรมเนียมสืบเนื่องใช้มาจนทุกวันนี้
ทรง ยกเลิกประเพณีให้ชาวต่างประเทศหมอบคลาน โปรดเกล้าฯให้ชาวต่างประเทศยืนเฝ้าฯ ได้ในท้องพระโรงและมีพระบรมราชานุญาตให้ดื่มเครื่องดื่ม และสูบบุหรี่ได้ต่อหน้าพระพักตร์ระหว่างปฏิสันถาร

โปรด เกล้าฯ ให้ข้าราชการไทยสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้าตามแบบอารยธรรมตะวันตก โปรดฯให้วังเจ้านาย สถานที่ราชการของไทยชักธงประจำตำแหน่งแบบกงสุลต่างประเทศ เมื่อทรงทราบว่าพระมหากษัตริย์ชาวยุโรปมีประเพณีประดับเครื่องหมายแสดงพระ เกียรติยศที่ฉลองพระองค์ จึงโปรดให้ทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สร้างเครื่องหมายแทนองค์พระมหากษัตริย์
โดย ทรงบัญญัติศัพท์ว่า “ ดารา” แทนคำว่า Star และยังคงใช้คำนี้ในการเรียกส่วนประกอบของเครื่องราชอิสริยาภรณ์สำหรับชั้น 2 ขึ้นไปจนถึงชั้นสายสะพายมาจนถึงปัจจุบันนี้ ทรงศึกษาภาษาอังกฤษกับ ดร. คาสเวลล์ (Caswell) หมอบลัดเล (Bradley) และหมอเฮาซ์ (House) นอกจากภาษาอังกฤษแล้วยังทรงศึกษาภาษาลาตินกับ สังฆราช พัลลกัวร์(Pallegoix) และทรงศึกษาภาษาฝรั่งเศส บาลี สันสกฤต และภาษามอญ ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินแห่งประเทศตะวันออกพระองค์แรกที่ทรงรู้ภาษาอังกฤษ ทรงใช้ภาษาอังกฤษศึกษาคณิตศาสตร์ ดาราศาสตร์ และวิทยาการแขนงอื่นๆ อีกทั้งทรงส่งเสริมให้พระราชโอรส พระราชธิดา เจ้านายฝ่ายหน้าและฝ่ายใน เรียนภาษาอังกฤษ

ด้านการเมืองการปกครอง

* โปรดเกล้าฯให้ยกเลิกประเพณีบังคับ ราษฎรให้ปิดประตูหน้าต่างบ้าน เวลาพระเจ้าแผ่นดินเสด็จฯ ผ่าน ทรงยกเลิกประเพณีห้ามมองห้ามดูพระเจ้าแผ่นดิน
* โปรดเกล้าฯ ให้ราษฎรเข้าเฝ้าได้ในทางเสด็จพระราชดำเนิน ทรงกำหนดวันเวลาขึ้นให้ราษฎรเข้าเฝ้าถวายฎีกากับพระองค์เอง
* โปรดเกล้าฯ ให้มีการเลือกสรรข้าราชการตุลาการชั้นสูง
* โปรดให้ส่งชื่อเพื่อคัดเลือกแทนการประกาศแต่งตั้งจากพระองค์
* โปรด เกล้าฯ ให้พิมพ์หนังสือราชกิจจานุเบกษาตีพิมพ์ข่าวราชการจาก ท้องตรา และหมายที่ออกประกาศไป รวมเป็นเล่มแจกผู้ที่เกี่ยวข้องกับราชการ อ่านให้เข้าใจในคำสั่งราชการ

ทรงแนะนำให้ราษฎรทำนาตามช่วงเวลาที่กำหนดให้ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเกษตรแก่ ราษฎร ทรงประกาศตักเตือนราษฎรให้รอบคอบในการทำนิติกรรม ซึ่งต้องลงชื่อทำสัญญาต่างๆ เช่น กรมธรรม์ขายตัวเป็นทาส ขายหรือจำนองที่ดิน
โปรด ให้ร่างประกาศเกี่ยวกับทาสว่า เจ้าของทาสต้องยอมรับเงินจากทาสที่ต้องการไถ่ถอนตัวเองเป็นอิสระ ทรงตราพระราชบัญญัติทรัพย์สินเดิมและสินสมรส และทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติ ลักพา ซึ่งควรถือว่าเป็นเอกสารเชิดชูสิทธิสตรีฉบับแรกของไทย ทรงประกาศให้นางใน กราบถวายบังคมลาออกไปมีสามีข้างนอกได้ ยกเว้นแต่นางในที่เป็นเจ้าจอมมารดาที่มีพระราชโอรส พระราชธิดา
ทรงยอมลดพระราชอำนาจที่เป็นสิทธิ์ขาดของพระมหากษัตริย์ไม่ทรงถือว่าพระมหา กษัตริย์เป็นเจ้าของที่ดินในพระราชอาณาจักรแต่ผู้เดียว โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาที่ดิน ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์แรกที่เสวยน้ำพระพิพัฒนสัตยา โดยทรงตั้งสัจจะว่าจะทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชาติ

ด้านการศาสนา

ขณะทรงผนวชอยู่ทรงตั้งลัทธิสมณวงศ์ใหม่เรียกว่า “ ธรรมยุติกนิกาย” ให้ถือปฏิบัติเอาแต่สิ่งที่ถูกตามพระธรรมวินัย นิกายธรรมยุติตั้งขึ้นมาเพื่อปฏิรูปพระพุทธศาสนา ฟื้นฟูด้านวัตรปฏิบัติของสงฆ์ ทรงริเริ่มวางระเบียบแบบแผนดังนี้ ทรงปฏิรูปการเทศน์และการอธิบายธรรม ทรงเพิ่มบทสวดมนต์ภาษาไทย ทรงกำหนดวันมาฆบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ทรงแก้ไขการรับผ้ากฐินให้ถูกต้องตามพุทธบัญญัติ ทรงแก้ไขการขอบรรพชาและการสวดกรรมวาจาในการอุปสมบท ทรงวางระเบียบการครองผ้าของภิกษุสามเณรให้ปฏิบัติตามหลักเสริยวัตรในพระ วินัย ทรงเห็นความสำคัญในการศึกษาหาความรู้สาขาอื่นๆของพระสงฆ์ ทรงอนุญาตให้พระสงฆ์เข้าศึกษาภาษาอังกฤษกับหมอแคสเวล ทำให้มีการสืบสานการเข้าศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมของพระสงฆ์มาจนถึงปัจจุบัน
พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างถนน ทั้งในเขตพระนครและตามหัวเมืองต่างๆ เพื่อใช้ในการเดินทางและขนส่งสินค้า ถนนที่ทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นคือ ถนนเจริญกรุง ถนนจำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร และถนนพระราม 4 นอกจากสร้างถนนยังโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง เพื่อใช้ในการสัญจรของราษฎร ทำให้การคมนาคมสะดวก มีการติดต่อค้าขายกันมากขึ้น เมื่อมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ การแลกเปลี่ยนเงินตรากันเป็นเรื่องจำเป็น เงินพดด้วงที่ใช้กันอยู่ไม่เพียงพอ จึงทรงโปรดเกล้าฯให้เปลี่ยนการใช้เงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญที่ผลิตด้วยครื่อ งจักรและ โปรดเกล้าฯให้ตั้งโรงกษาปณ์ แห่งแรกในประเทศไทย

ด้านการทหาร

ทรงโปรดเกล้าฯให้ฝึกหัดทหารตามแบบชาวยุโรป โปรดเกล้าฯให้สร้างเรือใบ เรือกลไฟ ให้เป็นเรือรบเรือลาดตระเวน ไว้สำหรับป้องกันประเทศ

ในสมัยนี้การก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆซึ่งเป็นสิ่งก่อสร้างที่งดงามแปลกตา เพราะเป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างตะวันตกกับตะวันออก ด้านจิตรกรรมนั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้เขียนภาพ ฝาผนังที่พระอุโบสถและพระวิหาร จิตรกรคนสำคัญในสมัยของพระองค์คือขรัวอินโข่งที่ริเริ่มเขียนภาพแบบฝรั่งและ ภาพแบบสามมิติ ส่วนปฏิมากรรมทรงโปรดเกล้าฯใหเหล่อพระพุทธรูปและจำลองพระพุทธรูปเพื่อพระราช ทานไปยังพระอาราม

วรรณคดีในสมัยนั้นยังมีความรุ่งเรือง

ด้วยที่พระองค์ทรงเป็นนักการศึกษาจึง พระราชนิพนธ์ไว้เป็นจำนวนมากมีทั้งทางโลกและทางธรรม บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตอนพระรามเดินดง ซึ่งพระราชนิพนธ์เป็นบทละครในแสดงให้เห็นว่าพระองค์พระราชนิพนธ์กลอนบท นิพนธ์ได้เป็นอย่างดี
ศาสตร์อีกแขนงหนึ่งที่พระองค์ทรงรอบรู้และเชี่ยวชาญคือ โหราศาสตร์พระองค์ทรงพยากรณ์ทำนายดวงชะตาได้แม่นยำ หาผู้ใดเสมอเหมือนได้ยาก ดังมีตัวอย่างคาถาพระราชทานพระราชโอรสและพระราชธิดาของพระองค์ ทรงพระราชนิพนธ์ตำราตรีภพ ใช้ทำนายโชคชะตาราศี ซึ่งโหรหลวงและนักโหราศาสตร์ใช้เป็นหลักในการพยากรณ์จนถึงทุกวันนี้

พระปรีชาญาณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่มีความรอบรู้และ เชี่ยวชาญในศาสตร์หลายแขนง ไม่เว้นแม้แต่วิทยาศาสตร์อันเป็นศาสตร์สมัยใหม่ในเวลานั้น ทรงสนพระทัยในวิชาวิทยาศาสตร์มากโดยเฉพาะดาราศาสตร์ จนพระองค์ได้รับการยกย่องจากวงการวิทยาศาสตร์ไทยว่าเป็น พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย กล่าวกันว่าพระองค์ทรงสนพระทัยเรื่องดาวหาง และทรงประกาศมิให้ราษฎรของพระองค์หลงเชื่อในความเล่าลือต่างๆ ให้เห็นเป็นเรื่องของปรากฏการณ์ธรรมชาติ

พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาว่าจะเกิดในวันที่ 18 สิงหาคม 2411 ซึ่งเป็นจริงตามที่พระองค์ทรงคำนวณ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประชวรไข้ระหว่างเสด็จพระราชดำเนินกลับจากการทอดพระเนตรสุริยุปราคา ทรงประชวรหนักและเสด็จสวรรคต
ในวันพฤหัสบดี เดือน 11 ขึ้น 15 ค่ำ ตรงกับวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ. 2411ดำรงราชสมบัติ 17 พรรษา

รัชกาลที่ 1


ประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลที่ 1 ( พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ) ( พ.ศ. 2325 - 2352 )
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มีพระนามเดิมว่า ทองด้วง เกิดเมื่อ แรม 5 ค่ำ เดือน 4 ปีมะโรง จุลศักราช 1098 ตรงกับวันพุธที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2279 ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นบุตรคนที่ 4 ของหลวงพินิจอักษร ( ทองดี ) กับ นางดาวเรือง ( หยก ) มีพี่น้องดังนี้
คนที่ 1 เป็นหญิงชื่อ สา ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น พระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระเทพสุดาวดี
คนที่ 2 เป็นชายชื่อ ขุนรามณรงค์ ถึงแก่กรรมก่อนเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2
คนที่ 3 เป็นหญิงชื่อ แก้ว ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นพระเจ้าพี่นางเธอ กรมสมเด็จพระศรีสุดารักษ์
คนที่ 4 เป็นชายชื่อ ทองด้วง ( รัชกาลที่ 1 )
คนที่ 5 เป็นชายชื่อ บุญมา ( กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท )
เมื่อเจริญวัยได้เข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยสมเด็จเจ้าฟ้าอุทุมพร กรมขุนพรพินิจ ( ขุนหลวงดอกมะเดื่อ )
พ.ศ. 2300 อายุ 21 ปีได้บวช ณ วัดมหาทลาย เมื่อลาสิกขาบทแล้วกลับเข้ารับราชการเป็นมหาดเล็กหลวง
พ.ศ. 2303 อายุ 24 ปี ได้สมรสกับนางสาวนาก ธิดาของคหบดีตำบลอัมพวา แขวงเมืองสมุทรสงคราม
พ.ศ. 2304 อายุ 25 ปีในสมัยสมเด็จพระที่นั่งสุริยาสอมรินทร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี
พ.ศ. 2311 ในสมัยพระเจ้าตากสิน ได้รับราชการมีฐานันดรศักดิ์เป็น พระราชวรินทร์ ( กรมพระตำรวจหลวง )
เมื่อเสร็จศึกในการปราบชุมนุมพิมาย ได้เลื่อนขึ้นเป็น พระยาอภัยรณฤทธิ์
พ.ศ. 2313 เมื่อครั้งปราบชุมนุมเจ้าพระฝาง มีความชอบได้เป็นพระยายมราช และทำหน้าที่สมุหนายกอีกด้วย
พ.ศ. 2314 ได้เลื่อนขึ้นเป็น เจ้าพระยาจักรี คุมทัพไปรบกับพม่าเสร็จศึกพม่าแล้ว ได้ยกทัพไปตีเขมรมาเป็นเมืองขึ้น พ.ศ. 2319 เป็นแม่ทัพไปตีเขมรป่าดง ( สุรินทร์ ขุขันธ์ สังขะ ) แคว้นลาวทางใต้ ได้เมืองจำปาศักดิ์ สีทันดร อัตตะปือ เสร็จศึกได้เลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก พิลึกมหมา ทุกนัคราระอาเดช นเรศรราช สุริยวงศ์ องค์อัครบาทมุลิกากร บวรรัตนปรินายก
พ.ศ. 2324 ยกทัพไปปราบจลาจลในเขมรแต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดกบฏในกรุงธนบุรีต้องยกทัพกลับ
พ.ศ. 2325 อาณาประชาราษฏร์ กราบทูลเชิญขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ เมื่อ 6 เมษายน 2325 อยู่ในราชสมบัติ 27 ปี เสด็จสวรรคต 7 กันยายน 2352 รวมพระชนมายุ 73 พรรษา ครองราชย์ นาน 28 ปี มีโอรสธิดารวม 42 พระองค์

พระราชประวัติรัชกาลที่ 3


พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าอยู่หัว

รัชกาลที่ 3 ครองราชย์ 26 ปี (พ.ศ. 2367-2394) พระชนมายุ 64 พรรษา





เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2330 มีพระนามเดิมว่า พระองค์เจ้าทับ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าจอมมารดาเรียบ ก่อนขึ้นครองราชย์ทรงดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ได้ทรงเคยว่าราชการ มาหลายตำแหน่ง เช่น กรมท่า (กระทรวงการต่างประเทศ) กรมพระคลังมหาสมบัติ กรมตำรวจ และผู้ว่าความในศาลฎีกา

ในรัชสมัยของพระองค์ เจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ เอาใจออกห่าง กระด้างกระเดื่อง เป็นกบฎไปเข้ากับญวณ แล้วฉวยโอกาสยกทัพเข้าตีเมืองอุบล ร้อยเอ็ด ตัวเจ้าอนุวงศ์เองยกทัพจากเวียงจันทร์ลงมาตีเมืองนครราชสีมาได้ แล้วให้ทัพหน้าเข้าตีสระบุรี พระองค์ได้จัดทัพใหญ่เตรียมรับศึก ในกรุงเทพ ฯ ได้จัดการป้องกันพระนคร วางกำลัง รายรอบเมืองตั้งแต่ทุ่งบางเขนถึงทุ่งหัวลำโพง จัดกำลังทหารไปตั้งรับที่สระบุรี ทัพเจ้าอนุวงศ์ได้กวาดต้อนผู้คนไปเวียงจันทร์ทุกวัน คุณหญิงโม ภรรยาปลัดเมืองนครราชสีมา เป็นหัวหน้ารวบรวมพวกเชลยไทยต่อสู้ พอทัพจากกรุงเทพ ฯ ยกขึ้นไปช่วย เจ้าอนุวงศ์จึงถอยทัพกลับไปเวียงจันทร์ โดยวางกำลังคอยต้านทานกองทัพไทย ที่ยกไปตีเวียงจันทร์ไว้ที่เมืองหล่มเก่า และเมืองภูเขียว

โปรดให้กรมพระราชวังบวรเป็นแม่ทัพ ยกทัพผ่านนครราชสีมา ขึ้นไปตีเวียงจันทร์สายหนึ่ง อีกสายหนึ่งให้กรมหมื่นสุรินทร์รักษ์เป็นแม่ทัพยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ ที่มายึดเมืองอุบล และเมืองร้อยเอ็ด แล้วไปบรรจบกับกองทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ อีกสายหนึ่งให้เจ้าพระยาอภัยภูธรเป็นแม่ทัพ ยกไปตีฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ที่เมืองหล่มสัก แล้วไปบรรจบทัพใหญ่ที่เวียงจันทร์ กองทัพไทยปราบกบฎเจ้าอนุวงศ์ได้ราบคาบ ตีกรุงเวียงจันทร์แตก จับเจ้าอนุวงศ์ได้ ในปี พ.ศ. 2371

เสร็จศึกแล้วได้โปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งคุณหญิงโม เป็นท้าวสุรนารี

ในรัชกาลของพระองค์ ประเทศไทยได้เริ่มเปิดประเทศรับชาวยุโรปอย่างกว้างขวาง อังกฤษ และ สหรัฐอเมริกา ส่งทูตเข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย การค้าขายกับ อังกฤษรุ่งเรืองมาก บางคราวมีเรือสินค้าเข้ามาจอดในแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 50 ลำ ทาง สหรัฐอเมริกาได้ส่งมิชชันนารีเข้ามาสอนศาสนา และนำเอาวิชาการแพทย์แผนใหม่ โรงพิมพ์หนังสือพิมพ์ และสอนภาษาอังกฤษให้คนไทย ผู้ที่ควรได้รับเกียรติในผลงานนี้ คือ หมอบรัดเลย์

ทรงโปรดให้มีประกาศห้ามนำฝิ่นเข้ามาขายในประเทศ และให้เก็บฝิ่นที่มีอยู่ในประเทศ นำไปเผาทั้งหมด

ด้านพระศาสนา ทรงทำนุบำรุงพุทธศาสนา สร้างวัดใหม่ 9 วัด บูรณะวัดเก่า 60 วัด โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างพระนอนใหญ่ที่วัดโพธิ์ และในรัชกาลนี้ ได้มีกวีแก้วแห่งกรุงรัตนโกสินทร์เกิดขึ้น คือ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส (พระองค์ วาสุกรี พระราช โอรสในรัชกาลที่ 1)



รัชกาลที่ 2


พระราชประวัติรัชกาลที่ ๒

ตราประจำรัชกาลที่ ๒

"ครุฑจับนาค" เป็นตรางา ลักษณะกลม รูปครุฑจับนาค เนื่องจากพระนามเดิมคือ "ฉิม" ซึ่งตามความหมายของวรรณคดีไทยเป็นที่อยู่ของพญาครุฑ

พระนาม พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พระนามเต็ม สมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาศกรวงศ์ องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยคโรมนต์ สกลจักรวาลาธิเมนทรต์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบูลย์ คุณอกณิฐ ฤทธิราเมศวรมหันต์ บรมธรรมิกราชาธิเบศร์ โลกเชฐวิสุทธิ์ รัตนมงกุฏประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมบพิตร (พระนามที่ปรากฏ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย นั้น พึ่งถวายพระนามเรียกเมื่อรัชกาลที่ ๓)
พระนามย่อ -
พระนามเดิม ฉิม
พระราชสมภพ ณ นิวาสสถานตำบลอัมพวา เมืองสมุทรสงคราม
วันพุธ ขึ้น ๗ ค่ำ เดือน ๔ ปีกุน เวลาเช้า ๕ ยาม นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙
ตรงกับวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๑๐
เป็นบุตรคนที่ ๔ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (ก่อนปราบดาภิเษก ขณะนั้นทรงดำรงตำแหน่งเป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี) กับสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระราชชนนี ทรงพระนามเดิมว่า นาก เสวยราชสมบัติ เมื่อปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๕๒ - ๒๓๖๗ ขณะมีพระชนมายุได้ ๔๒ พรรษา
รวมสิริดำรงราชสมบัติ ๑๖ ปี
พระราชโอรส-ราชธิดา รวมทั้งสิ้น ๗๓ พระองค์
สวรรคต เมื่อวันพุธ เดือน ๘ แรม ๑๑ ค่ำ
ตรงกับวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๖๗ ปีวอก
รวมพระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา
วัดประจำรัชกาล วัดอรุณราชวรารามวรมหาวิหาร (วัดแจ้ง)
เหตุการณ์สำคัญ กรุงสยามมีการเปลี่ยนธงประจำชาติ จากธงแดง เป็นธงช้าง
มีลักษณะพื้นสีแดง ตรงกลางเป็นวงกลมสีขาว มีรูปช้างเผือกสีขาวภายในวงกลม
แต่เมื่อจะใช้ชักเป็นธงบนเรือสินค้า ให้งดวงกลมออกเสีย เหลือแต่รูปช้างเผือกสีขาวเท่านั้น ดังนั้น บันทึกที่พบในต่างประเทศจึงระบุว่ากรุงสยาม ใช้ธงประจำชาติเป็นรูปช้างเผือกสีขาวบนพื้นแดง
ดูเรื่อง ธงชาติไทย
พ.ศ.๒๓๕๒ เจ้าฟ้ากรมขุนกษัตรานุชิตกับพวก คิดกบฏ โปรดเกล้าฯ ให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ชำระความ สงครามกับพม่าที่เมืองถลาง
พ.ศ.๒๓๕๓ ราชฑูตญวนมาขอเมืองบันทายมาศ
ทรงเจริญทางพระราชไมตรีกับต่างชาติครั้งแรกของพระบรมราชจักรีวงศ์
ทรงแต่งราชทูตเชิญพระราชสาสน์และเครื่องราชบรรณาการ ออกไปเจริญทางพระราชไมตรีกับพระเจ้ากรุงจีน โดยประทับตราโลโตบนพระราชสาสน์ เยี่ยงพระมหากษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยา
พ.ศ.๒๓๕๔ โปรดเกล้าฯ ให้เจ้านายไปกำกับราชการตามกระทรวงต่างๆ
โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพนักงานออก "เดินสวนเดินนา"
เกิดอหิวาตกโรคครั้งใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้มีพระราชพิธี "อาพาธพินาศ"
โปรดเกล้าฯ ให้กองทัพไทย ไประงับความวุ่นวายในกัมพูชา
พ.ศ.๒๓๕๖ โปรดให้จัดการพระราชพิธีมหาพิไชยมงคลสรงสนานเฉลิมพระนามสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามงกุฎ สมมุติเทวาวงศ์ พงศอิศรกษัตริย์ ขัติยราชกุมาร โดยทรงกำหนดให้มีการลงสรงในคราวเฉลิมพระนาม แทนการลงสรงในพระราชพิธีโสกันต์ ซึ่งทำกันมาแต่เดิม
พ.ศ.๒๓๕๙ โปรดเกล้าฯ ให้จัดการปรับปรุงการสอบปริยัติธรรมใหม่ กำหนดขึ้นเป็น ๙ ประโยค
พ.ศ.๒๓๖๐ ทรงฟื้นฟูพิธี วิสาขบูชา โปรดให้นิมนต์พระสงฆ์แสดงธรรมเทศนา ให้มีการรักษาอุโบสถศีล ปล่อยนก ปล่อยปลา อีกทั้งโปรดให้มีการประดับโคมประทีปถวายเป็นพุทธบูชา ซึ่งได้ถือปฏิบัติสืบมาจนทุกวันนี้
พ.ศ.๒๓๖๑ ขยายเขตพระบรมมหาราชวังจนจรดวัดพระเชตุพน
สมณฑูตกลับจากลังกา เจ้าเมืองมาเก๊า ขอเจริญพระราชไมตรี
พ.ศ.๒๓๖๒ หมอจัสลิส มิชชันนารีประจำร่างกุ้ง หล่อตัวพิมพ์อักษรไทยเป็นครั้งแรก
พ.ศ.๒๓๖๓ ฉลองวัดอรุณราชวราราม
สังคายนาบทสวดมนต์ โปรตุเกสตั้งสถานฑูต
พ.ศ.๒๓๖๕ เซอร์จอห์น ครอฟอร์ด เป็นฑูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรี
พ.ศ.๒๓๖๗ เสด็จสวรรคต

อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย/ Namtok Chet Sao Noi


ข้อมูลทั่วไป

เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2521 สำนักงานป่าไม้เขตนครราชสีมาได้สำรวจพื้นที่บริเวณน้ำตกเจ็ดสาวน้อยเพื่อจัดตั้งเป็นวนอุทยาน เนื้อที่ที่สำรวจไว้เดิมมี 500 ไร่ แต่ต่อมาเอกชนออกเอกสารสิทธิ์ที่ดินจำนวน 50 ไร่ จึงเหลือเนื้อที่อยู่เพียง 450 ไร่ และทำการสำรวจเพิ่มเติมป่าสงวนแห่งชาติดงพญาเย็นอีกประมาณ 487.5 ไร่ รวมเป็นเนื้อที่ที่จะผนวกประมาณ 937.5 ไร่ กรมป่าไม้ได้ทำการสำรวจลำห้วยมวกเหล็ก ซึ่งเป็นลำห้วยที่เกิดจากป่าเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ไหลรวมกับแม่น้ำป่าสักที่ตำบลวังม่วง อำเภอมวกเหล็ก (ปัจจุบันคืออำเภอวังม่วง) จังหวัดสระบุรี เนื่องจากเป็นลำน้ำที่ไหลผ่านที่ราบสูงตอนบนของจังหวัดสระบุรีผ่านทิวเขาสลับซับซ้อนของหุบเขาซึ่งไม่สูงมากนักจึงเป็นเหตุที่ทำให้เกิดน้ำตกชั้นเตี้ยๆ เป็นจำนวนมากแต่เป็นน้ำตกที่มีความงดงามตามธรรมชาติที่แปลกออกไปจากน้ำตกแหล่งอื่นๆ มองดูคล้ายกับสายน้ำที่ไหลผ่านสันเขื่อนที่มนุษย์สรรค์สร้างขึ้นไหลเป็นแนวกว้าง ประกอบกับเป็นน้ำตกที่มีสายน้ำไหลตลอดปี กรมป่าไม้จึงได้ประกาศจัดตั้งเป็น “วนอุทยานน้ำตกเจ็ดสาวน้อย” เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2523 อยู่ในท้องที่อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี และอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าทับกวาง-มวกเหล็ก แปลง 1 และป่าสงวนแห่งชาติป่าดงพญาเย็น มีเนื้อที่ประมาณ 540 ไร่

ต่อมา นายปลอดประสพ สุรัสวดี อธิบดีกรมป่าไม้ ได้มาตรวจเยี่ยมวนอุทยานน้ำตกเจ็ดสาวน้อยเมื่อเดือนมิถุนายน 2545 ได้เห็นการพัฒนาของวนอุทยาน ประกอบกับมีนักท่องเที่ยวเข้ามาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก จึงได้มอบนโยบายว่า “ควรจะขยายพื้นที่ตามลำธารเพิ่มเติมเพื่อให้เพียงพอต่อการรองรับนักท่องเที่ยว และให้ทำการสำรวจพื้นที่เพิ่มเติม โดยให้ศึกษาข้อมูลด้านนิเวศวิทยา และข้อมูลพื้ฐานในการจัดการในด้านต่างๆ ทั้งนี้เพื่อหาความเป็นไปได้ในการกำหนดพื้นที่และวางแผนการจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ” สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พิจารณาแล้ว เห็นสมควรกำหนดพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าทับกวาง และป่ามวกเหล็ก แปลงที่ 1 อำเภอมวกเหล็ก และอำเภอวังม่วง จังหวัดสระบุรี รวมพื้นที่วนอุทยานน้ำตกเจ็ดสาวน้อย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา และอำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เนื้อที่ประมาณ 17,540 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อย

ลักษณะภูมิประเทศ

อุทยานแห่งชาติน้ำตกเจ็ดสาวน้อยมีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสลับซับซ้อนสลับกับที่ราบ ลักษณะพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้งมีหน้าดินตื้น มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางอยู่ในช่วง 180-402 เมตร จุดสูงสุดของพื้นที่อยู่บริเวณโชคชัยพัฒนา มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 402 เมตร รองลงมาคือเทือกเขาที่อยู่ตอนกลางของพื้นที่ และเทือกเขาบริเวณบ้านดงน้ำฉ่า มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 386 และ 359 เมตร ตามลำดับ บริเวณเชิงเขาด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือของพื้นที่ติดคลองมวกเหล็กซึ่งมีน้ำไหลผ่านตลอดปี และไหลลงสู่แม่น้ำป่าสักที่อำเภอวังม่วง ส่วนบริเวณตอนกลางของพื้นที่มีลำห้วยเล็กๆ ไหลผ่าน ได้แก่ ห้วยแล้ง ซึ่งเป็นลำห้วยที่มีน้ำไหลเฉพาะในช่วงฤดูฝนเท่านั้น

ลักษณะภูมิอากาศ

สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติได้รวบรวมข้อมูลจากการเก็บข้อมูลปริมาณน้ำฝนของสถานีตรวจวัดอากาศมวกเหล็ก ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ประมาณ 10 กิโลเมตร และจากสถานีตรวจอากาศเกษตรปากช่อง ซึ่งอยู่ห่างจากพื้นที่ประมาณ 26 กิโลเมตร ปรากฏว่า พื้นที่อุทยานแห่งชาติซึ่งอยู่บริเวณภาคกลางของประเทศไทย อยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม ซึ่งมีระบบการพัดเวียนประจำเป็นฤดูกาล ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดพาเอาความชื้นจากทะเลและมหาสมุทรเข้ามา ทำให้เกิดฤดูฝน ในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ พัดพาเอาความหนาวเย็นมาจากตอนเหนือของทวีปเอเชีย ทำให้เกิดฤดูหนาว ส่วนฤดูร้อนจะอยู่ในช่วงเดือนกลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปีได้ 1,191 มิลลิเมตร อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีเท่ากับ 26 oC

พืชพรรณและสัตว์ป่า

สภาพป่าโดยทั่วไปเป็นป่าปลูก เนื่องจากแต่เดิมเป็นพื้นที่ที่ถูกบุกรุกทำลายมาก่อนและได้รับการปลูกป่าฟื้นฟู พื้นที่บางส่วนอยู่ในเขตสวนป่าหลังเขา-ท่าระหัด จังหวัดสระบุรี และพื้นที่แปลงปลูกป่าตามโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสทรงครองราชย์ปีที่ 50 บางพื้นที่เป็นป่าที่ฟื้นตัวตามธรรมชาติ พื้นที่โดยรอบทั้งหมดเป็นพื้นที่เกษตรกรรมและที่อยู่อาศัย มีถนนล้อมรอบ จึงถูกตัดออกจากป่าอนุรักษ์แห่งอื่นๆ อย่างสิ้นเชิง ไม่มีผืนป่าธรรมชาติแห่งอื่นต่อเนื่องหรือใกล้เคียง ดังนั้นจึงไม่มีการแลกเปลี่ยนสายพันธุ์พืช และสัตว์ป่ากับป่าธรรมชาติความหลากหลายของพันธุ์พืชและสัตว์ป่าจึงมีค่อนข้างน้อย


สังคมพืชในอุทยานแห่งชาติสามารถแบ่งออกได้เป็น

ป่าดงดิบ จากการศึกษาพบว่า บริเวณที่เป็นป่าดงดิบธรรมชาติจะพบได้เฉพาะบริเวณที่อยู่ติดลำห้วยมวกเหล็ก และขึ้นกระจายเป็นหย่อมๆ ตามแนวลำน้ำ พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ โสกน้ำ ไคร้ย้อย มะแฟน ยางนา ตะเคียนทอง ยมหอม กระทิง สัตตบรรณ อบเชย มะเดื่อ สาธร เฉียงพร้านางแอ มะหาด ฯลฯ พันธุ์พืชที่ขึ้นในน้ำและที่ชื้นได้แก่ ไคร้น้ำ สันตะวา ดีปลีน้ำ บัวสาย เฟินก้านดำ กูดเขากวาง กกรังกา ตีนตุ๊กแก ไม้เถาได้แก่ นมตำเลีย สะบ้า กระเช้าผีมด แสลงพัน เครือออน บันไดลิง หวายชนิดต่างๆ พืชอิงอาศัย เช่น ข้าหลวงหลังลาย กระแตไต่ไม้ เอื้องกระเรกระร่อน เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบอยู่ในบริเวณตอนกลางของพื้นที่ สภาพป่าส่วนใหญ่เป็นป่าที่ฟื้นตัวเองตามธรรมชาติ มีไม้ชั้นบนที่สำคัญ คือ ประดู่ป่า สำโรง กะพี้ งิ้วป่า ตะคร้ำ หว้า แสมสาร มะเดื่อ ไม้ชั้นรองได้แก่ โมกหลวง ตีนนก แคหางค่าง ปีบ หนามคนทา หนามมะเค็ด ฯลฯ นอกจากนี้ยังพบไผ่ป่า ไผ่คาย ขึ้นทั่วพื้นที่ ส่วนพืชพื้นล่างและพืชคลุมดินประกอบด้วยกล้าไม้ของไม้ชั้นรองและไม้พุ่มเป็นส่วนใหญ่ และยังพบหญ้าคาขึ้นเป็นกลุ่มในบางพื้นที่

สัตว์ป่าที่สำรวจพบในอุทยานแห่งชาติประกอบด้วย สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม พบจำนวน 19 ชนิด ได้แก่ เลียงผา หมาจิ้งจอก หมาไม้ ชะมดเช็ด พังพอนธรรมดา ลิ่นพันธุ์มลายู อีเห็นข้างลาย อ้น เม่นใหญ่แผงคอสั้น กระต่ายป่า กระจ้อน กระเล็นขนปลายหูสั้น พญากระรอกบินหูแดง กระรอกหลากสี หนูพุกใหญ่ และหนูท้องขาว เป็นต้น มีนกชนิดต่างๆ ทั้งหมด 78 ชนิด แยกเป็นนกประจำถิ่น 54 ชนิด นกอพยพย้ายถิ่นตามฤดูกาล 23 ชนิด และนกอพยพผ่าน 1 ชนิด ได้แก่ เหยี่ยวกิ้งก่าสีดำ นกแอ่นตาล นกเด้าดินทุ่ง นกปรอดหัวสีเขม่า นกแซงแซวหงอนขน นกกระเต้นน้อยธรรมดา นกกระปูด นกจับแมลงสีฟ้า นกกางเขนดง นกแอ่นพง นกกระแตแต้แว้ด นกตะขาบทุ่ง นกสีชมพูสวน นกอีเสือสีน้ำตาล นกจาบคาหัวสีส้ม นกกินปลีอกเหลือง ไก่บ้าน นกหกเล็กปากแดง นกกวัก นกกะรางหัวขวาน ฯลฯ สัตว์เลื้อยคลาน สำรวจพบ 17 ชนิด ได้แก่ เต่านา กิ่งก่าเขาเล็ก กิ้งก่าบิน ตะกอง ตุ๊กแกบ้าน จิ้งจกหางหนาม จิ้งจกบ้าน จิ้งเหลนบ้าน ตะกวด เหี้ย งูเหลือม และงูเขียวพระอินทร์ เป็นต้น นอกจากนี้ยังสำรวจพบ ผีเสื้อ จำนวน 48 ชนิด ได้แก่ ผีเสื้อถุงทองธรรมดา ผีเสื้อหนอนใบรักฟ้าใหญ่ ผีเสื้อปลายปีกส้มใหญ่ ผีเสื้อจิ๋วหนอนมะพร้าวธรรมดา และผีเสื้อหนอนพุทราธรรมดา ฯลฯ

วัดหัวกระบือ


ศีรษะกระบือ หรือที่ชาวบ้านเรียก หัวกระบือ นั้นเป็นชื่อของคลองและหมู่บ้าน ทั้งยังเป็นชื่อของวัดในหมู่บ้านที่อยู่ริมคลองหัวกระบือ ซึ่งแยกมาจากคลองด่าน ตั้งอยู่ในแขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ ดังปรากฏในอักขรานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดธนบุรี ฉบับพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๘๒ ว่า หัวกระบือ คลองในอำเภอบางขุนเทียน ต่อมาจากคลองสนามไชยไปจดคลองขุนราชพินิจฉัย จังหวัดสมุทรสงคราม

วัดศีรษะกระบือ (วัดหัวกระบือ) สร้างเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัด แต่จากหลักฐานทางวัตถุโบราณและเอกสารกับทั้งข้อมูลทางด้านโบราณคดี พอจะอนุมานได้ว่าสร้างขึ้นสมัยอยุธยาตอนปลาย หรืออาจก่อนหน้านั้น



วันลอยกระทง

วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทย ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป

ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาและขอขมาพระแม่คงคาด้วย

ประวัติ

พลุเฉลิมฉลองในเทศกาลวันลอยกระทงริมแม่น้ำเจ้าพระยาเดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป[ต้องการอ้างอิง] แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่1

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดี

ในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

ประเพณีลอยกระทงนั้นมีมาแต่โบราณ โดยมีคติความเชื่อหลายอย่าง เช่น เชื่อว่าเป็นการบูชาและขอขมา แม่พระคงคา เป็นการสะเดาะเคราะห์ เป็นการบูชาพระเจ้าในศาสนาพราหมณ์ หรือเป็นการบูชารอยพระพุทธบาท เป็นต้น การลอยกระทงนิยมทำกันในวันเพ็ญ เดือน 12 ของทุก ๆ ปี อันเป็นช่วงที่น้ำในแม่น้ำลำคลองขึ้นสูงและ อากาศเริ่มเย็นลง ตามพระราชนิพนธ์พระราชพิธีสิบสองเดือน และตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้กล่าวว่า นางนพมาศ หรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระสนมเอกในพระร่วงเจ้าแห่งกรุงสุโขทัย เป็นผู้ริเริ่มประดิษฐ์กระทงสำหรับลอยประทีป เป็นรูปดอกบัวบานขึ้น ซึ่งคนทั่วไปนิยมทำตามสืบต่อมา นอกจากนั้นในศิลาจารึกหลักที่ 1 ยังได้กล่าวถึงงานเผาเทียน เล่นไฟ ของกรุงสุโขทัยไว้ด้วยว่า เป็นงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของกรุงสุโขทัย ทำให้ผู้รู้ทั้งหลายสันนิษฐานต้องตรงกันว่า งานดังกล่าวน่าจะเป็นงานลอยกระทงอย่างแน่นอน

วันคริสมาสต์

คริสมาสต์(Christmas หรือ X'Mas) คือเทศกาลเฉลิมฉลองการประสูติของพระเยซู ศาสดาแห่งศาสนาคริสต์ ซึ่งตรงกับวันที่ 25 ธันวาคม พระองค์ประสูติที่เมืองเบ็ธเลเฮ็มและเติบโตที่เมืองนาซาเรท ประเทศอิสราเอลในปัจจุบัน

คริสมาสต์ เป็นคำทับศัพท์ภาษา อังกฤษ Christmas มาจากคำภาษาอังกฤษโบราณว่า Christes Maesse ที่แปลว่า "บูชามิสซาของพระคริสตเจ้า" คำว่า" Christes Maesse" พบครั้งแรกในเอกสารโบราณเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1038 และในปัจจุบันคำนี้ก็ได้เปลี่ยนมาเป็นคำว่า Christmas

ประวัติความเป็นมาของวันคริต์มาส
ซึ่งเป็นวันเกิดของพระเยซูนั้น ตามหลักฐานในพระคัมภีร์บันทึกไว้ว่า พระเยซูเจ้าประสูติในสมัยที่จักรพรรดิซีซาร์ ออกุสตุส แห่งจักรวรรดิโรมัน ซึ่งทรงสั่ง ให้จดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งแผ่นดิน โดยฝ่ายคีรีนิอัส เจ้าเมืองซีเรียก็รับนโยบายไปปฏิบัติให้มีการจดทะเบียนสำมะโนครัวทั่วทั้งอาณาเขต แต่ในพระคัมภีร์ ไม่ได้ระบุว่า พระเยซูประสูติวัน หรือเดือนอะไร ด้านนักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า เดิมทีวันที่ 25 ธันวาคม เป็นวันที่จักรพรรดิเอาเรเลียนแห่งโรมัน กำหนดให้เป็นวันฉลองวันเกิดของสุริยะเทพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 274 ชาวโรมันซึ่งส่วนใหญ่นับถือเทพเจ้าฉลองวันนี้เสมือนว่า เป็นวันฉลองของพระจักรพรรดิไปในตัวด้วย เพราะจักรพรรดิก็เปรียบเสมือนดวงอาทิตย์ ที่ให้ความสว่างแก่ชีวิตมนุษย์ แต่ชาวคริสต์ที่อยู่ในจักรวรรดิโรมัน รวมถึงชาวโรมันที่เปลี่ยนไปนับถือคริสต์อึดอัดใจที่จะฉลองวันเกิดของสุริยเทพ จึงหันมาฉลองการบังเกิดของพระเยซูเจ้าแทน หลังจากที่ชาวคริสต์ถูกควบคุมเสรีภาพทางศาสนา ตั้งแต่ปี ค.ศ. 64-313 จนถึงวันที่ 25 ธันวาคม ปี ค.ศ. 330 ชาวคริสต์จึงเริ่มฉลองคริสต์มาสอย่างเป็นทางการและเปิดเผย



วันสงกรานต์


สงกรานต์ เป็นประเพณีปีใหม่ของประเทศไทย ลาว กัมพูชา พม่า ชนกลุ่มน้อยชาวไตแถบเวียดนามและมณฑลยูนนานของจีน ศรีลังกาและทางตะวันออกของประเทศอินเดีย สงกรานต์เป็นคำสันสกฤต หมายถึงการเคลื่อนย้าย ซึ่งเป็นการอุปมาถึงการเคลื่อนย้ายของการประทับในจักรราศี หรือคือการเคลื่อนขึ้นปีใหม่ในความเชื่อของไทยและบางประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาวต่างประเทศเรียกว่า "สงครามน้ำ"

สงกรานต์ เป็นประเพณีเก่าแก่ของไทยซึ่งสืบทอดมาแต่โบราณคู่มากับประเพณีตรุษ จึงมีการเรียกรวมกันว่า ประเพณีตรุษสงกรานต์ หมายถึงประเพณีส่งท้ายปีเก่า และต้อนรับปีใหม่ คำว่าตรุษเป็นภาษาทมิฬ แปลว่าการสิ้นปี

พิธีสงกรานต์ เป็นพิธีกรรมที่เกิดขึ้นในสมาชิกในครอบครัว หรือชุมชนบ้านใกล้เรือนเคียง แต่ปัจจุบันได้เปลี่ยนไปสู่สังคมในวงกว้าง และมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนทัศนคติ และความเชื่อไป ในความเชื่อดั้งเดิมใช้สัญลักษณ์เป็นองค์ประกอบหลักในพิธี ได้แก่ การใช้น้ำเป็นตัวแทน แก้กันกับความหมายของฤดูร้อน ช่วงเวลาที่พระอาทิตย์เคลื่อนเข้าสู่ราศีเมษ ใช้น้ำรดให้แก่กันเพื่อความชุ่มชื่น มีการขอพรจากผู้ใหญ่ การรำลึกและกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับ ในชีวิตสมัยใหม่ของสังคมไทยเกิดประเพณีกลับบ้านในเทศกาลสงกรานต์ นับวันสงกรานต์เป็นวันครอบครัว ในพิธีเดิมมีการสรงน้ำพระที่นำสิริมงคล เพื่อให้เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่มีความสุข ปัจจุบันมีพัฒนาการและมีแนวโน้มว่าได้มีการเสริมจนคลาดเคลื่อนบิดเบือนไป เกิดการประชาสัมพันธ์ในเชิงการท่องเที่ยวว่าเป็น ‘Water Festival’ เป็นภาพของการใช้น้ำเพื่อแสดงความหมายเพียงประเพณีการเล่นน้ำ

การที่สังคมเปลี่ยนไป มีการเคลื่อนย้ายที่อยู่เข้าสู่เมืองใหญ่ และถือวันสงกรานต์เป็นวัน "กลับบ้าน" ทำให้การจราจรคับคั่งในช่วงวันก่อนสงกรานต์ วันแรกของเทศกาล และวันสุดท้ายของเทศกาล เกิดอุบัติเหตุทางถนนสูง นับเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงหลายด้านของสังคม นอกจากนี้ เทศกาลสงกรานต์ยังถูกใช้ในการส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งต่อคนไทย และต่อนักท่องเที่ยวต่างประเทศ

วันปีใหม่"


ปีใหม่" เปลี่ยนทางมาที่นี่ สำหรับชื่อบุคคล ดูที่ สุมนต์รัตน์ วัฒนาเศลารัตน์
วันขึ้นปีใหม่ คือวันแรกของปี มักจะมีการเฉลิมฉลองอย่างยิ่งใหญ่ และนับเป็นวันสำคัญของปี ปัจจุบันกำหนดให้วันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่สากล ตามปฏิทินเกรกอเรียน และถือเป็นวันหยุดต่อมาจากวันสิ้นปี อย่างไรก็ตาม ในแต่ละชาติที่ใช้ปฏิทินแบบอื่น ก็จะมีวันขึ้นปีใหม่ที่แตกต่างกันไป เช่น วันตรุษจีน, วันสงกรานต์ เป็นต้น

วันขึ้นปีใหม่ในประเทศไทย
ในวัฒนธรรมไทยแต่ตั้งเดิมจะถือเอาวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้า ซึ่งตรงกับช่วงเทศกาลสงกรานต์ ที่เป็นวันแรกที่ดวงอาทิตย์ได้โคจรผ่านพ้นราศีมีนมาสถิตย์ยังราศีเมษ ต่อมาในปี พ.ศ. 2432 ตรงกับรัชสมัยของรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เปลี่ยนวันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่ 1 เมษายน ซึ่งในปีนั้นเผอิญตรงกับวันขึ้น 1 ค่ำ เดือนห้าพอดี จึงยึดถือเอาเป็นวันหลัก ซึ่งจะไม่ตรงกันทุกปีแต่ให้ยึดถือเอาเดือนเมษายนเป็นเกณฑ์

ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ทางรัฐบาล (คณะรัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม) ให้ถือเอาวันที่ 1 มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ ตั้งแต่ พ.ศ. 2484 เป็นต้นมา โดยมติของสภาผู้แทนราษฎรให้ผ่านกฎหมายฉบับนี้เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2483 โดยได้ยกเลิกปฏิทินแบบสุริยคติมาใช้ปฏิทินแบบสากลเช่นในปัจจุบันมาจนถึงทุกวันนี้[1]

การจัดงานปีใหม่
การจัดงานเป็นรูปแบบการเฉลิมฉลองการเริ่มปีใหม่เป็นการพบประสังสรรค์ หรือนับพบญาติเนื่องจากมีโอกาศที่มีวันหยุดติดต่อกับแย่างยาวนาน การจัดงานปีใหม่มีการจัดทั่วโลกทั้งงานเทศกาลและงานที่ให้ผู้คนมาร่วมงานเป็นการขายสินค้า อาหารเครื่องดื่มและมีการแสดงให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับชม หรือแม้แต่การจัดงานในบ้าน
กิจกรรมในวันขึ้นปีใหม่
วันขึ้นปีใหม่เป็นวันที่นิยมในการทำบุญตักบาตรที่วัดหรือสถานที่ที่ทางราชการนิมนต์พระภิกษุสามเณรจากวัดต่างๆ มาเตรียมไว้ให้ มีการลงนามถวายพระพรชัยมงคลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ผู้ไปลงนามจะได้รับปฏิทินหลวงเป็นที่ระลึก นอกจากนี้ยังอาจมีงานเลี้ยงภายในเครือญาติและมิตรสหาย ช่วงใกล้วันปีใหม่มักมีการส่งบัตร ส.ค.ส. และแจกจ่ายสำหรับปีใหม่เป็นของกำนัล