พระมหาสมปอง กล่าวเชิญชวนทุกๆ ท่านมาร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ทำความดีถวายในหลวง

trueplookpanya

counters

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การแต่งกายประจำภาคกลาง

ภาคกลาง


ภาษาภาคกลาง ส่วนใหญ่ใช้ภาษาไทยกลางที่เป็นภาษาราชการ ยกเว้นคนบางกลุ่มที่มีบรรพบุรุษเป็นชาวจีน ชาวมอญ หรือชาวลาวพวน ซึ่งมีสำเนียงภาษาที่แตกต่างออกไป
การแต่งกายภาคกลาง การแต่งกายในชีวิตประจำวันทั่วไป ชายนุ่งกางเกงครึ่งน่อง สวมเสื้อแขนสั้น คาดผ้าขาวม้า ส่วนหญิง จะนุ่งซิ่นยาว สวมเสื้อแขนสั้นหรือยาว
ลักษณะการแต่งกาย


ผู้ชาย สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่โจงกระเบนสวมเสื้อสีขาว ติดกระดุม 5 เม็ด ที่เรียกว่า "ราชประแตน" ไว้ผมสั้นข้างๆตัดเกรียนถึงหนังศีรษะข้างบนหวีแสกกลาง

ผู้หญิง สมัยก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง นิยมสวมใส่ผ้าซิ่นยาวครึ่งแข้ง ห่มสไบเฉียงตามสมัยอยุธยา ทรงผมเกล้าเป็นมวย และสวมใส่เครื่องประดับเพื่อความสวยงาม

จังหวัดน่าน


จังหวัดน่าน ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้สถาปนาความสัมพันธุ์เป็นเมืองพี่น้องกับ หลวงพระบาง ของประเทศลาว และ เชียงรุ่ง ของประเทศจีน

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

ตราประจำจังหวัด: รูปพระธาตุแช่แห้งอยู่บนหลังโคอุศุภราช
ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกเสี้ยวดอกขาว (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bauhinia variegata Linn.)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: กำลังเสือโคร่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Betula alnoides Buch.-Ham.)
คำขวัญประจำจังหวัด: แข่งเรือลือเลื่อง เมืองงาช้างดำ จิตรกรรมวัดภูมินทร์ แดนดินส้มสีทอง เรืองรองพระธาตุแช่แห้ง
อาณาเขต

ทิศเหนือและตะวันออก ติดต่อกับ ประเทศลาว
ทิศใต้ ติดต่อกับ จังหวัดอุตรดิตถ์
ทิศตะวันตก ติดต่อกับจังหวัดพะเยาและจังหวัดแพร่

นอกจากนี้แล้วจังหวัดน่านยังมีด่านเข้าออกกับประเทศลาวหลายแห่งด้วยกัน เช่น จุดผ่านแดนถาวรสากลห้วยโก๋น-น้ำเงิน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ, จุดผ่อนปรนบ้านใหม่ชายแดน อำเภอสองแคว และจุดผ่อนปรนบ้านห้วยสะแตง อำเภอทุ่งช้าง

ภูมิศาสตร์


จังหวัดน่านมีสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาซึ่งวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ โดยเฉพาะบริเวณชายแดนด้านเหนือและตะวันออกซึ่งเป็นรอยต่อกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีดอยภูคาในเขตอำเภอปัว เป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัด คือมีความสูงถึง 1,980 เมตร ส่วนพื้นที่ราบจะอยู่บริเวณตอนกลางของจังหวัด และตามลุ่มน้ำต่างๆ แหล่งน้ำที่สำคัญของจังหวัดคือแม่น้ำน่าน ซึ่งมีต้นกำเนิดทางตอนเหนือของจังหวัด แล้วไหลลงไปยังเขื่อนสิริกิติ์ในจังหวัดอุตรดิตถ์ และบรรจบกับแม่น้ำปิงที่จังหวัดนครสวรรค์เป็นแม่น้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ ที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำสา ลำน้ำว้า ลำน้ำสมุน ลำน้ำปัว ลำน้ำย่าง ลำน้ำแหง เป็นต้น มีพื้นที่กว้างใหญ่ พื้นที่เต็มไปด้วยภูเขาสูงสลับซับซ้อน ทั้งยังมีประชากรหลายชาติพันธุ์ นับว่าเป็นดินแดนของความหลากหลายอีกแห่งหนึ่งของประเทศ

ประวัติศาสตร์

มีลักษณะอากาศแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อนแบบ 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว โดยมีความแตกต่างของฤดูอย่างชัดเจน

ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม - เมษายน อากาศร้อนถึงร้อนจัด (สถิติอุณภูมิสูงสุด 44.1 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2502)
ฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม - กันยายน มีฝนตกชุก จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
ฤดูหนาว ระหว่างเดือนตุลาคม - กุมภาพันธ์ อากาศหนาวถึงหนาวจัด จากอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (สถิติอุณภูมิต่ำสุด 2.7 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2542)

จังหวัดลำปาง


จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และภูเขาสูง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเดิมว่า เขลางค์นคร เป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า

ประวัติ

ลำปางเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในล้านนา เป็นจุดศูนย์รวมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนาอันโดดเด่น สมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรล้านนารวมไปถึงนครลำปางได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามานานนับสองร้อยปี ดังนั้นสถาปัตยกรรม วัดวาอาราม โบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองลำปางจึงได้รับอิทธิพลของศิลปะพม่าเห็นได้อย่างชัดเจน อาทิ วัดศรีชุม วัดพระแก้วดอนเต้าฯ ช่วงสมัยพม่าปกครองอาณาจักรล้านนารวมไปถึงเมืองลำปางไม่ได้สร้างคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง มิหนำซ้ำยังกระทำการย่ำยีข่มเหงชาวบ้านจนทำให้ชาวเมืองเกลียดชังไปทั่ว จนกระทั่งได้เกิดวีรบุรุษผู้กล้าแห่งบ้านปกยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) นามว่า เจ้าพ่อทิพย์ช้าง ท่านได้รวบรวมชาวเมืองขับไล่พม่าพ้นเมืองลำปางได้สำเร็จ พร้อมกันนี้ชาวเมืองจึงพากันสถาปนาท่านขึ้นเป็นเจ้าเมืองลำปาง มีพระนามว่า พญาสุวฤๅไชยสงคราม เวลานั้นเมืองลำปางเป็นเมืองเดียวในล้านนาที่ปราศจากอำนาจปกครองจากพม่า

กาลเวลาต่อมาลูกหลานของท่านได้กอบกู้เอกราชขับไล่พม่าจากแผ่นดินล้านนา และได้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำพูน น่าน และต้นตระกูลของท่านมีนามปรากฏในพงศาวดารว่าราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูประบอบการปกครองเป็นระบอบมณฑล เมืองลำปางขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพ (เมืองเชียงใหม่) และมณฑลมหาราษฎร์ (เมืองเชียงราย) ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนแปลงเป็นจังหวัด เมืองลำปางจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การแต่งกายประจำภาคใต้


ภาคใต้
ภาคใต้ มีภาษาพูดประจำถิ่นที่ห้วนๆ สั้นๆ เป็นเอกลักษณ์ เรียกว่า “ภาษาใต้หรือแหลงใต้” ส่วนกลุ่มคนที่อยู่แถบชายแดนไทย-มาเลเซีย นิยมพูด ภาษายาวี หรือภาษามาเลเซีย
ตัวอย่างภาษาพูดภาคใต้ เช่น แหลง (พูด) หร๋อย (อร่อย) ทำไหร๋ (ทำอะไร) บางท้องถิ่นใช้ภาษายาวี เพราะนับถือศาสนาอิสลาม
การแต่งกายภาคใต้ ภาคนี้มีการแต่งกายต่างกันตามเชื้อชาติ ถ้าเชื้อสายจีนจะแต่งแบบจีน ถ้าเป็นชาวมุสลิม ก็จะแต่งคล้ายกับชาวมาเลเซีย
ปัจจุบันแหล่งทำผ้าแบบดั้งเดิมนั้นเกือบจะสูญหายไป คงพบได้เฉพาะ 4 แหล่งเท่านั้นคือ ที่ตำบลพุมเรี้ยง จังหวัดสุราษฎร์ธานี , อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช , เกาะยอ จังหวัดสงขลา และตำบลนาหมื่นศรี จังหวัดตรัง
การแต่งกายของชาวใต้

การแต่งกายนั้นแตกต่างกันในการใช้วัสดุ และรูปแบบโดยมีเอกลักษณ์ไปตามเชื้อชาติ ของผู้คนอันหลากหลายที่เข้ามาอยู่อาศัยในดินแดนอันเก่าแก่แห่งนี้พอจำแนกเป็น

กลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้
ี้
1. กลุ่มเชื้อสายจีน – มาลายู เรียกชนกลุ่มนี้ว่ายะหยา หรือ ยอนย่า เป็นกลุ่มชาวจีน เชื้อสายฮกเกี๊ยนที่มาสมรสกับชนพื้นเมืองเชื้อสายมาลายู ชาวยะหยาจึงมีการแต่งกายอันสวยงาม ที่ผสมผสาน รูปแบบของชาวจีนและมาลายูเข้าด้วยกันอย่างงดงาม ฝ่ายหญิงใส่เสื้อฉลุลายดอกไม้ รอบคอ,เอว และปลายแขนอย่างงดงาม นิยมนุ่งผ้าซิ่นปาเต๊ะ ฝ่ายชายยังคงแต่งกาย คล้ายรูปแบบจีนดั้งเดิมอยู่

2. กลุ่มชาวไทยมุสลิม ชนดั้งเดิม ของดินแดนนี้นับถือศาสนาอิสลาม และมี เชื้อสายมาลายู ยังคงแต่งกายตามประเพณี อันเก่าแก่ฝ่ายหญิงมีผ้าคลุมศีรษะ ใส่เสื้อผ้ามัสลิน หรือลูกไม้ตัวยาวแบบมลายูนุ่งซิ่นปาเต๊ะ หรือ ซิ่นทอแบบมาลายู ฝ่ายชายใส่เสื้อคอตั้ง สวมกางเกงขายาว และมีผ้าโสร่งผืนสั้น ที่เรียกว่า ผ้าซองเก็ต พันรอบเอวถ้าอยู่ บ้านหรือลำลองจะใส่โสร่ง ลายตารางทอด้วยฝ้าย และสวมหมวกถักหรือ เย็บด้วยผ้ากำมะหยี่

3. กลุ่มชาวไทยพุทธ ชนพื้นบ้าน แต่งกายคล้ายชาวไทยภาคกลาง ฝ่ายหญิงนิยมนุ่งโจงกระเบน หรือ ผ้าซิ่นด้วย ผ้ายกอันสวยงาม ใส่เสื้อสีอ่อนคอกลม แขนสามส่วน ส่วนฝ่ายชายนุ่งกางเกงชาวเล หรือ โจงกระเบนเช่นกัน สวมเสื้อผ้าฝ้ายและ มีผ้าขาวม้าผูกเอว หรือพาดบ่าเวลาออกนอกบ้านหรือไปงานพิธี

การแต่งกายประจำภาคเหนือ


ภาคเหนือ


มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตนเอง หรือที่เรียกว่า “คำเมือง” จะใช้กันแพร่หลายในภาคเหนือตอนบน ส่วยภาคเหนือตอนล่างเคยอยู่ร่วมกับสุโขทัย อยุธยาทำให้ประเพณี และวัฒนธรรมมีลักษณะคล้ายกับภาคกลาง
ภาษาพูดจะมีลักษณะช้าและนุ่มนวล เช่น อู้ (พูด) เจ้า (ค่ะ) แอ่ว (เที่ยว) กิ๊ดฮอด (คิดถึง)
การแต่งกายภาคเหนือ ชาวพื้นเมืองจะแต่งกายตามเชื้อชาติโดยทั่วไป
ลักษณะการแต่งกายของคนภาคเหนือการแต่งกาย

เป็นสิ่งสำคัญสิ่งหนึ่ง ที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของคนแต่ละพื้นถิ่น สำหรับในเขตภาคเหนือหรือดินแดนล้านนาในอดีต ปัจจุบันการแต่งกายแบบพื้นเมืองได้รับความสนใจมากขึ้น แต่เนื่องจากในท้องถิ่นนี้มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์อาศัยอยู่ เช่น ไทยวน ไทลื้อ ไทเขิน ไทใหญ่ และอิทธิพลจากละครโทรทัศน์ ทำให้การแต่งกายแบบพื้นเมืองมีความสับสนเกิดขึ้น ดังนั้นคณะทำงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือ จึงได้ระบุข้อไม่ควรกระทำในการแต่งกายชุดพื้นเมือง ของ “แม่ญิงล้านนา” เอาไว้ว่า
1.ไม่ควรใช้ผ้าโพกศีรษะ ในกรณีที่ไม่ใช่ชุดแบบไทลื้อ
2. ไม่ควรเสียบดอกไม้ไหวจนเต็มศีรษะ
3. ไม่ควรใช้ผ้าพาดบ่าลากหางยาว หรือคาดเข็มขัดทับ และผ้าพาดที่ประยุกต์มาจาก ผ้าตีนซิ่นและผ้า “ตุง” ไม่ควรนำมาพาด
4. ตัวซิ่นลายทางตั้งเป็นซิ่นแบบลาว ไม่ควรนำมาต่อกับตีนจกไทยวน

การแต่งกายประจำภาคอีสาน


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน)


ภาษาภาคนี้สำเนียงคล้ายภาษาลาว ซึ่งเรามักจะเรียกว่าเป็นภาษา “อีสาน”
ภาษาอีสานเช่น เว้า (พูด) แซบ (อร่อย) เคียด (โกรธ) นำ (ด้วย)
การแต่งกายส่วนใหญ่ใช้ผ้าทอมือ ซึ่งทำจากเส้นใยธรรมชาติ เช่น ผ้าฝ้าย และผ้าไหม
ผ้าพื้นเมืองอีสาน


ชาวอีสานถือว่าการทอผ้าเป็นกิจกรรมยามว่างหลังจากฤดู
การทำนาหรือว่างจากงานประจำอื่นๆ ใต้ถุนบ้านแต่ละบ้านจะกางหูกทอผ้ากันแทบทุกครัวเรือน โดยผู้หญิง
ในวัยต่างๆ จะสืบทอดกันมาผ่านการจดจำและปฏิบัติจากวัยเด็ก
ทั้งลวดลายสีสัน การย้อมและการทอ ผ้าที่ทอด้วยมือจะนำไปใช้ตัดเย็บทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม หมอน ที่นอน ผ้าห่ม และการทอผ้ายังเป็นการเตรียมผ้าสำหรับการออกเรือนสำหรับหญิงวัยสาว ทั้งการเตรียมสำหรับตนเองและเจ้าบ่าว ทั้งยังเป็นการวัดถึงความเป็นกุลสตรี เป็นแม่เหย้าแม่เรือนของหญิงชาวอีสานอีกด้วย ผ้าที่ทอขึ้นจำแนกออกเป็น 2 ชนิด คือ
1. ผ้าทอสำหรับใช้ในชีวิตประจำวัน จะเป็นผ้าพื้นไม่มีลวดลาย เพราะต้องการความทนทานจึงทอด้วยฝ้ายย้อมสีตามต้องการ
2. ผ้าทอสำหรับโอกาสพิเศษ เช่น ใช้ในงานบุญประเพณีต่างๆ งานแต่งงาน งานฟ้อนรำ ผ้าที่ทอจึงมักมีลวดลายที่สวยงามวิจิตรพิสดาร มีหลากหลายสีสัน
ประเพณีที่คู่กันมากับการทอผ้าคือการลงข่วง โดยบรรดาสาวๆ ในหมู่บ้านจะพากันมารวมกลุ่มก่อกองไฟ บ้างก็สาวไหม บ้างก็ปั่นฝ้าย กรอฝ้าย ฝ่ายชายก็ถือโอกาสมาเกี้ยวพาราสีและนั่งคุยเป็นเพื่อน บางครั้งก็มีการนำดนตรีพื้นบ้านอย่างพิณ แคน โหวต มาบรรเลงจ่ายผญาโต้ตอบกัน

เนื่องจากอีสานมีชนอยู่หลายกลุ่มวัฒนธรรม การผลิตผ้าพื้นเมืองจึงแตกต่างกันไปตามกลุ่มวัฒนธรรม
กลุ่มอีสานใต้
คือกลุ่มคนไทยเชื้อสายเขมรที่กระจัดกระจายตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบจังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษและบุรีรัมย์ เป็นกลุ่มที่มีการทอผ้าที่มีเอกลักษณ์โดยเฉพาะของตนเอง มีสีสันที่แตกต่างจากกลุ่มไทยลาว

อาหารภาคเหนือ


อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร
ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้
ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร

คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง
ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง

ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ
ขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้าน
ที่มีกลิ่นหอม หรืออย่างตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น
ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม

อาหารภาคอีสาน


อาหารภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีรสชาติเด่น
คือ รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจาก
ผักพื้นบ้าน เช่น มะขาม มะกอก

อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบ
ใส่กะทิ คนอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด เช่น
ซุปหน่อไม้ อ่อม หมก น้ำพริกต่างๆ รวมทั้งส้มตำ

อาหารอีสานที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ปลาร้าบ้อง
อุดมด้วยพืชสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม
ใบมะกรูด มะขามเปียก หรืออย่างแกงอ่อม ที่เน้นการใช้ผัก
หลายชนิดตามฤดูกาลเป็นหลัก รสชาติของแกงอ่อมจึงออกรสหวาน
ของผักต่างๆ รสเผ็ดของพริก กลิ่นหอมของเครื่องเทศและผักชีลาว
หรืออย่างต้มแซบ ที่มีน้ำแกงอันอุดมด้วยรสชาติและกลิ่นหอมของ
ของเครื่องเทศและผักสมุนไพรเช่นกัน

คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และโดยทั่วไป
จะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด หวด คือภาชนะที่เป็นรูปกรวย ทำด้วยไม้ไผ่
ซึ่งจะต้องใช้คู่กับหม้อทรงกระบอก

อาหารภาคกลาง

ภาคกลาง
ภาคกลาง....เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหาร
จึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดปี รวมทั้งมีพืช ผัก ผลไม้ นานาชนิด นอกจากนี้ภาคกลางยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงมานับหลาย
ร้อยปี ตั้งแต่สมัยอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน จึงเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอด
ต่อ ๆ กันมา ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าขาย และติดต่อกับต่างประเทศ มีแขกบ้านแขกเมือง ไปมาหาสู่อยู่ตลอดเวลา
และที่สำคัญที่สุดเป็นที่ประทับของในหลวงในรัชกาลต่าง ๆ มีเจ้านายหลายพระองค์รวมทั้งแวดลงชาววัง ซึ่งต่างก็มีส่วนสำคัญ
ในการสร้างสรรค์อาหารที่เป็นแบบฉบับของคนภาคกลาง


ลักษณะอาหารภาคกลางมีที่มาต่าง ๆ กัน ดังนี้

ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย
ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น

เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ ทั้งนี้เพราะบรรดาคุณท่านท้าวเธอที่อยู่ในรั้วในวังมีเวลาว่างมากมาย จึงใช้เวลาในการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส
วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบ กระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก

เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวาน แกงกะทิก็มักจะแนมด้วยปลาเค็ม สะเดา น้ำปลาหวานก็ต้องคู่
กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือแม้กระทั่งไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสด
หรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกมากมายเช่นพวกผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น

เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง
ขนมหวานหลากหลายที่ทำจากไข่ , แป้งชนิดต่าง ๆ เช่น แป้งข้าวเหนียว แป้งสาลี แป้งมัน หรือแป้งหลายชนิดรวมกัน เช่น ขนมชั้น ขนมสอดไส้
ขนมเปียกปูน ขนมกง ขนมมุก ขนมลืมกลืน ขนมเต่า เป็นต้น


จากความหลากหลายของอาหารภาคกลางนี้เอง จึงทำให้รสชาติของอาหารภาคนี้ไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ
คือมีรส เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน คลุกเคล้าไปตามชนิดต่าง ๆ ของอาหาร นอกจากนี้มักจะใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น
พวกเครื่องเทศต่าง ๆ ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหารมากชนิด

อาหารภาคใต้

ภาคใต้... เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล
ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล
อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล




อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลา
โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาด
ไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบ
ทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่ง
คงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง




เพราะชีวิตของคนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับทะเล เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกิดรับประทานให้หมดใน
หนึ่งมื้อได้ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหาร เช่น กุ้งส้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ
ซึ่งจะมีสีเขียว งชนิดนี้เมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้ม สีจะออกแดง ๆ และมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้น นำกุ้งมาหมักกับ
เกลือ น้ำตาลทราย หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้






ö ปลาขี้เสียดแห้ง คือการนำปลาสีเสียดมาใส่เกลือจนทั่วตัวปลา แล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน
ö ปลาแป้งแดง คือการนำปลาโคบ หมักกับข้าวสุก เกลือ ใส่สีแดง หมักทิ้งไว้ 3-4 วัน จึงนำมาปรุงอาหารได้

ö ปลาเค็ม คือ การนำปลามาหมักกับเกลือ เมื่อก่อนชาวประมงออกหาปลา พอได้ปลามากก็หมักกับเกลือบนเรือ
ครั้นเรือเข้าฝั่งก็จะได้ปลาเค็มไว้รับประทาน

ö กุ้งแห้ง คือ การนำกุ้งที่ได้มาเคล้ากับเกลือ แล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน

ö น้ำบูดู ได้จากการหมักปลาตัวเล็ก ๆ กับเกลือเม็ด โดยหมักไว้ในโอ่ง ไห หรือถังซีเมนต์ แล้วปิดฝาผนึกอย่างดี
ตากแดดทิ้งไว้ 2-3 เดือน หรือเป็นปี จึงนำมาใช้ได้ บูดูมีทั้งชนิดหวานและชนิดเค็ม ชนิดหวาน ใช้คลุกข้าวยำ
ปักษ์ใต้ ชนิดเค็ม ใช้ปรุงอาหารประเภทน้ำพริก เครื่องจิ้ม

ö พุงปลา ได้จากการเอาพุงปลาทู หรือปลารังมารีดเอาสิ่งสกปรกออก แล้วใส่เกลือหมักไว้ 1 เดือนขึ้นไป จึงนำมา
ปรุงอาหารได้

ö เนื้อหนาง คือ การนำเอาหัวของวัวไปย่างไฟอ่อน ๆ จนสุกทั่วกันดี แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นขูดเอาส่วนที่ไหม้
ออกจนขาวสะอาดดี เลาะเอาแต่เนื้อ นำมาเคล้ากับเกลือ น้ำตาลปีบ หมักทิ้งไว้ 2-3 คืน จึงนำมาปรุงอาหารได้
เนื้อหนางอาจทำโดย ใช้เศษเนื้อปนเอ็นหมักก็ได้

อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย น่าลิ้มลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน คือความเผ็ดร้อนของรสชาติ
อาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจาก
พริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำส้มลูกโหนด
ตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น

เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลง
ซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง บางอย่างก็
เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกันเฉพาะคน
ภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้าย ๆกัน หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทาน

การเลี้ยงนก

การเลี้ยงและการจัดการ
การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสุกร โค กระบือ ไก่ และอื่น ๆ ย่อมต้องการอาหารและวิธีการเลี้ยงดู
ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุของสัตว์ การเลี้ยงนกกระจอกเทศก็เช่นเดียวกันวิธีการเลี้ยงดูในแต่ละช่วงอายุก็จะ
แตกต่างกันด้วย ดังนี้
การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุ 0 - 4 สัปดาห์
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศระยะนี้คือ อุปกรณ์สำหรับให้น้ำ ให้อาหาร
เครื่องกกลูกนก วัสดุรองพื้น เป็นต้น ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนที่จะทำการกกนอกจากนี้อุปกรณ์
ดังกล่าวจะต้องสะอาด และผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้วสำหรับเครื่องกกลูกนกก็ต้องตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อย
เสียก่อนลูกนกมาถึงอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สำหรับข้อควรปฎิบัติเกี่ยวกับการจัดการและเลี้ยงดูลูกนกกระจอกเทศ
ระยะนี้ มีดังนี้
1. ติดไฟเครื่องกกก่อนที่ลุกนกกระจอกเทศมาถึง 3 - 4 ชั่วโมง โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 90 - 95 F
2. เติมวิตามินในน้ำสำหรับการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศ ก่อนลูกนกมาถึง 1 -2 ชั่วโมง เพื่อปรับให้
อุณหภูมิของน้ำ มีความแตกต่างจากสภาพแวดล้อมไม่มากนัก และให้กินน้ำผสมวิตามิน 10 - 14 วัน
3. ลูกนกกระจอกเทศ อายุ 2 - 3 วันแรก อาจจะไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เพื่อให้ลูกนกกระจอกเทศ
ดูดซึมและย่อยไข่แดงให้หมดเสียก่อน จากนั้นให้อาหารข้นที่มีโปรตีน 20 - 22% พลังงาน 2,700 กิโลแคลอรี่
แคลเซียม 1.4% ฟอสฟอรัส 0.7% หลังจาก 7 - 10 วันอาจให้หญ้าสสดที่สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แก่ลูกนกกระจอกเทศ
เพิ่มขึ้น และควรตั้งหินเกล็ดไว้ให้กินตลอดเวลา
4. ระยะแรกลูกนกกระจอกเทศจะยังไม่รู้จักที่ให้น้ำที่ให้อาหารโดยนำลูกนกไปที่ที่ให้น้ำแล้วจับปาก
จุ่มน้ำ 2 - 3 ครั้ง
เนื่องจากนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ชอบเล่น ดังนั้น ในภาชนะให้อาหารอาจจะใส่ลูกบอลพลาสติก
ลูกปิงปอง หรือลูกกอล์ฟ เพื่อให้ลูกนกเล่นไปด้วยจิกกินอาหารไปด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกนกกระจอกเทศกินอาหาร
ได้มากยิ่งขึ้น
5. ควรขยายวงล้อมกกออกทุก ๆ 3 - 4 วัน การขยายกกออกมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศและ
ควรลดอุณหภูมิในการกกลงครั้งละ 5 F โดยจะใช้เวลากกลูกนกกระจอกเทศนานประมาณ 8 สัปดาห์ทั้งนี้ให้
สังเกตความสมบูรณ์ของลูกนกด้วย
6. อัตราส่วนของรางอาหารและรางน้ำ 4 เซนติเมตรต่อลูกนกกระจอกเทศหนัง 1 กิโลกรัม
7. อัตราการเจริญเติบโตระยะแรกประมาณเดือนละ 1 ฟุต จนนกกระจอกเทศสูงถึง 5-6 ฟุต อัตราการ
เจริญเติบโตจะน้อยกว่าเดือนละ 1 ฟุต
8. ให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมงในระยะ 4 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นให้แสงสว่างลดลงเหลือ
20 - 23 ชั่วโมง
9. ควรตรวจดูวัสดุรองพื้น จะต้องไม่ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่นหรือมีกลิ่นของก๊าซแอมโมเนีย ถ้ามีต้อง
รีบแก้ไขทีนที
10. ควรสังเกตอุจจาระของนกกระจอกเทศตลอดเวลา นกกระจอกเทศที่ปกติจะถ่ายอุจจาระอ่อน ไม่แข็ง
แห้งหรือเป็นเมล็ดเหมือนแพะ ปัสสาวะจะต้องเป็นน้ำใสไม่เหนียวหรือขุ่นข้น
11. ควรเข้มงวดเรื่องสุขาภิบาล เมื่อนกกระจอกเทศแสดงอาการผิดปกติจะต้องรีบหาสาเหตุ เพื่อหาทาง
แก้ไขโดยด่วนต่อไป
การเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก (อายุ 1 - 3 เดือน)
เมื่อครบกำหนดกกลูกนกกระจอกเทศหรือเห็นว่าลูกนกแข็งแรงดีแล้วให้ยกเครื่องกกออก แต่ต้องทำด้วย
ความระมัดระวังอย่าให้ตื่นตกใจ โดยมีการจัดการ ดังนี้
1. ยกเครื่องกกออก และสังเกตอาการของลูกนกกระจอกเทศหากพบอาการผิดปกติให้รีบหาสาเหตุและ
แก้ไขโดยทันที
2. ภาชนะที่ให้อาหารควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และให้อาหารนกกระจอกเทศเล็กครั้งละ
น้อยๆ วันละ 4 - 5 ครั้งส่วนภาชนะที่ให้น้ำควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และมีน้ำให้นกกระจอกเทศกิน
ตลอดเวลาด้วย
3. เมื่อลูกนกกระจอกเทศสมบูรณ์และแข็งแรงดีแล้ว ควรปล่อยให้ลูกนก ออกไปเดินเล่นด้วย ซึ่งจะทำให้
ลูกนกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4. ตรวจสุขภาพของลูกนกกระจอกเทศเป็นประจำทุกวันตลอดจนสภาพแวดล้อม การระบายอากาศและ
สภาพของวัสดุรองพื้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
5. บันทึกอัตราการตาย การกินอาหาร การให้ยาหรือวัคซีน การเจริญเติบโต ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่จะ
เป็นประโยชน์ในการพิจารณาแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
การเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4 - 23 เดือน)
การเลี้ยงและการจัดการในระยะนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่นกกระจอกเทศมีการเจริญเติบโต
เร็วมาก ซึ่งมีน้ำหนักตัวไม่สอดคล้องกับขานกที่มีขนาดเล็ก จึงมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว หรือขา
ผิดปกติ ดังนั้นเพื่อให้ได้นกกระจอกเทศที่ดีจึงต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ซึ่งมีแนวทางการเลี้ยงดู ดังนี้
1. ใช้อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่นที่ประกอบด้วยพลังงาน 2,400 กิโลแคลลอรี่ โปรตีน 18% แคลเซียม
1.6% ฟอสฟอรัส 0.8% และเสริมด้วยหญ้าแห้งหรือหญ้าสด นอกจากนี้ควรควบคุมน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศ อย่าให้
น้ำหนักเพิ่มเร็วเกินไปเพราะขายังพัฒนาไม่เต็มที่ที่จะรับน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว
2. ควบคุมการระบายอากาศภายในโรงเรือน ส่วนบริเวณภายนอกสำหรับให้นกกระจอกเทศเดินเล่น
จะต้องระมัดระวังอย่าให้มีเศษวัสดุ เช่นเศษผ้า เหล็ก ตะปู ฯลฯ ตกหล่นอยู่ เพราะนกจะจิกกินซึ่งอาจจะทำให้
นกกระจอกเทศตายได้ (Herdware Disease)
3. จัดอัตราส่วนพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศซึ่งกำหนดพื้นที่ให้ตัวละ 1.5 ตารางเมตร
สำหรับในบริเวณที่เป็นโรงเรือนและบริเวณด้านนอกที่วิ่งเล่นตัวละอย่างน้อย 200 ตารางเมตร และไม่ควรเลี้ยงรวม
เป็นฝูงเดียวกันมากกว่า 40 ตัว
4. เพิ่มภาชนะให้น้ำและอาหารให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศ ที่เลี้ยงในแต่ละฝูง และควร
ทำความสะอาดภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเป็นประจำทุกวัน
5. ไม่จำเป็นต้องให้แสงไฟในเวลากลางคืน นกกระจอกเทศจะได้รับแสงสว่างตามธรรมชาติก็เพียงพอแล้ว
6. จดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้อาหาร อัตราการตาย การเจริญเติบโตและอาการผิดปกติต่าง ๆ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ - แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป)
นกกระจอกเทศที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง จะเริ่มให้ผลผลิตและผสมพันธุ์ได้ เมื่อเพศเมียอายุ 2 ปี
ขึ้นไป และเพศผู้ 2.5 ปีขึ้นไป และจะให้ผลผลิตติดต่อกันนานถึง 40 ปี ดังนั้น เพื่อให้ได้รับผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ
จึงควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ให้อาหารที่ประกอบด้วยโปรตีน 15-17% พลังงาน 2,300 - 2,600 กิโลแคลลอรี่ แคลเซียม 1.8%
ฟอสฟอรัส 0.9% ให้อาหารวันละ 1-3 กิโลกรัมต่อตัว และควรเสริมด้วยหญ้า นอกจากนี้จะต้องมีหินเกล็ดตั้งไว้ให้
นกจิกกินด้วย เพื่อจะช่วยในการย่อยที่กระเพาะบด
2. ภาชนะที่ให้น้ำและอาหาร ควรทำความสะอาดทุกวันและมีน้ำตั้งให้กินตลอดเวลา
3. อัตราส่วนที่ใช้ผสมพันธุ์ คือ เพศผู้ 1 ตัว ต่อเพศเมีย 1 - 3 ตัว
4. จัดพื้นที่ให้เหมาะสม โดยใช้พื้นที่ด้านภายในโรงเรือนตัวละ 5-8 ตารางเมตร และบริเวณลานตัวละ
400 - 500 ตารางเมตร และควรเลี้ยงฝูงละ 2 - 4 ตัว (เพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 1-3 ตัว) เท่านั้น
5. เก็บไข่ออกทุกวัน และนำไปรวบรวมไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรอการเข้าตู้ฟัก แต่จะต้องมีไข่
ปลอมวางไว้เพื่อให้แม่นกกระจอกเทศไข่ติดต่อไปเรื่อย ๆ และควรจะขังนกกระจอกเทศไว้ด้านนอกโรงเรือนก่อนที่
จะเก็บไข่ออก เพราะนกกระจอกเทศช่วงผสมพันธุ์จะดุร้าย อาจทำอันตรายได้
6. ตรวจสุขภาพนกกระจอกเทศทุกวัน หากมีปัญหาหรือผิดปกติต้องรีบแก้ไขโดยทันที
7. ตรวจดูสุขภาพภายในโรงเรือนเป็นประจำทุกวัน หากอุปกรณ์ใดชำรุดจะต้องรีบซ่อมแซมให้อยู่ใน
สภาพที่ใช้งานได้ทันทีหรือแก้ไขให้เหมาะสมที่จะใช้งานได้ต่อไป
8. จดบันทึกการให้ผลผลิต การตาย การกินอาหาร การให้ยาและวัคซีน และอื่น ๆ เป็นประจำทุกวัน
ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศจะส่งเข้าโรงงานแปรรูปเมื่ออายุ 12-14 เดือน ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 85-110 กิโลกรัม
ผลผลิตที่สำคัญคือ
1. หนัง ประมาณตัวละ 1.2-1.4 ตารางเมตร ซึ่งหนังของนกกระจอกเทศมีคุณภาพดีและราคาสูงมาก
แพงกว่าหนังจระเข้ นิยมนำไปทำรองเท้าบู๊ต กระเป็า เข็มขัด เสื่อแจ๊คเก็ต ส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
2. เนื้อ มีสีแดงและรสชาดคล้ายเนื้อวัว แต่ไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำกว่าเนื้อวัวมาก ซึ่งจะเหมาะสม
สำหรับผู้มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ และผู้ไม่นิยมรับประทานเนื้อวัว ซึ่งราคาในต่างประเทศประมาณกิโลกรัมละ
500-800 บาท
3. ขน นกกระจอกเทศสามารถให้ขนได้ปีละ 2 ครั้งประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ซึ่งนำไปใช้ทำเครื่องประดับ
ตบแต่งเสื้อผ้า ดอกไม้ และที่สำคัญคือ ใช้ทำไม้ปัดฝุ่น ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอิเลคโทรนิคที่บอบบาง