พระมหาสมปอง กล่าวเชิญชวนทุกๆ ท่านมาร่วมสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้

ทำความดีถวายในหลวง

trueplookpanya

counters

วันพุธที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2554

การเลี้ยงนก

การเลี้ยงและการจัดการ
การเลี้ยงสัตว์ทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นสุกร โค กระบือ ไก่ และอื่น ๆ ย่อมต้องการอาหารและวิธีการเลี้ยงดู
ที่เหมาะสมในแต่ละช่วงอายุของสัตว์ การเลี้ยงนกกระจอกเทศก็เช่นเดียวกันวิธีการเลี้ยงดูในแต่ละช่วงอายุก็จะ
แตกต่างกันด้วย ดังนี้
การเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศอายุ 0 - 4 สัปดาห์
อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นสำหรับการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศระยะนี้คือ อุปกรณ์สำหรับให้น้ำ ให้อาหาร
เครื่องกกลูกนก วัสดุรองพื้น เป็นต้น ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องเตรียมไว้ให้พร้อมก่อนที่จะทำการกกนอกจากนี้อุปกรณ์
ดังกล่าวจะต้องสะอาด และผ่านการฆ่าเชื้อโรคแล้วสำหรับเครื่องกกลูกนกก็ต้องตรวจสอบการทำงานให้เรียบร้อย
เสียก่อนลูกนกมาถึงอย่างน้อย 24 ชั่วโมง สำหรับข้อควรปฎิบัติเกี่ยวกับการจัดการและเลี้ยงดูลูกนกกระจอกเทศ
ระยะนี้ มีดังนี้
1. ติดไฟเครื่องกกก่อนที่ลุกนกกระจอกเทศมาถึง 3 - 4 ชั่วโมง โดยตั้งไว้ที่อุณหภูมิ 90 - 95 F
2. เติมวิตามินในน้ำสำหรับการเลี้ยงลูกนกกระจอกเทศ ก่อนลูกนกมาถึง 1 -2 ชั่วโมง เพื่อปรับให้
อุณหภูมิของน้ำ มีความแตกต่างจากสภาพแวดล้อมไม่มากนัก และให้กินน้ำผสมวิตามิน 10 - 14 วัน
3. ลูกนกกระจอกเทศ อายุ 2 - 3 วันแรก อาจจะไม่จำเป็นต้องให้อาหาร เพื่อให้ลูกนกกระจอกเทศ
ดูดซึมและย่อยไข่แดงให้หมดเสียก่อน จากนั้นให้อาหารข้นที่มีโปรตีน 20 - 22% พลังงาน 2,700 กิโลแคลอรี่
แคลเซียม 1.4% ฟอสฟอรัส 0.7% หลังจาก 7 - 10 วันอาจให้หญ้าสสดที่สับเป็นชิ้นเล็ก ๆ แก่ลูกนกกระจอกเทศ
เพิ่มขึ้น และควรตั้งหินเกล็ดไว้ให้กินตลอดเวลา
4. ระยะแรกลูกนกกระจอกเทศจะยังไม่รู้จักที่ให้น้ำที่ให้อาหารโดยนำลูกนกไปที่ที่ให้น้ำแล้วจับปาก
จุ่มน้ำ 2 - 3 ครั้ง
เนื่องจากนกกระจอกเทศเป็นสัตว์ชอบเล่น ดังนั้น ในภาชนะให้อาหารอาจจะใส่ลูกบอลพลาสติก
ลูกปิงปอง หรือลูกกอล์ฟ เพื่อให้ลูกนกเล่นไปด้วยจิกกินอาหารไปด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกนกกระจอกเทศกินอาหาร
ได้มากยิ่งขึ้น
5. ควรขยายวงล้อมกกออกทุก ๆ 3 - 4 วัน การขยายกกออกมากหรือน้อยขึ้นกับสภาพอากาศและ
ควรลดอุณหภูมิในการกกลงครั้งละ 5 F โดยจะใช้เวลากกลูกนกกระจอกเทศนานประมาณ 8 สัปดาห์ทั้งนี้ให้
สังเกตความสมบูรณ์ของลูกนกด้วย
6. อัตราส่วนของรางอาหารและรางน้ำ 4 เซนติเมตรต่อลูกนกกระจอกเทศหนัง 1 กิโลกรัม
7. อัตราการเจริญเติบโตระยะแรกประมาณเดือนละ 1 ฟุต จนนกกระจอกเทศสูงถึง 5-6 ฟุต อัตราการ
เจริญเติบโตจะน้อยกว่าเดือนละ 1 ฟุต
8. ให้แสงสว่างในโรงเรือนตลอด 24 ชั่วโมงในระยะ 4 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นให้แสงสว่างลดลงเหลือ
20 - 23 ชั่วโมง
9. ควรตรวจดูวัสดุรองพื้น จะต้องไม่ชื้นแฉะหรือแข็งเป็นแผ่นหรือมีกลิ่นของก๊าซแอมโมเนีย ถ้ามีต้อง
รีบแก้ไขทีนที
10. ควรสังเกตอุจจาระของนกกระจอกเทศตลอดเวลา นกกระจอกเทศที่ปกติจะถ่ายอุจจาระอ่อน ไม่แข็ง
แห้งหรือเป็นเมล็ดเหมือนแพะ ปัสสาวะจะต้องเป็นน้ำใสไม่เหนียวหรือขุ่นข้น
11. ควรเข้มงวดเรื่องสุขาภิบาล เมื่อนกกระจอกเทศแสดงอาการผิดปกติจะต้องรีบหาสาเหตุ เพื่อหาทาง
แก้ไขโดยด่วนต่อไป
การเลี้ยงนกกระจอกเทศเล็ก (อายุ 1 - 3 เดือน)
เมื่อครบกำหนดกกลูกนกกระจอกเทศหรือเห็นว่าลูกนกแข็งแรงดีแล้วให้ยกเครื่องกกออก แต่ต้องทำด้วย
ความระมัดระวังอย่าให้ตื่นตกใจ โดยมีการจัดการ ดังนี้
1. ยกเครื่องกกออก และสังเกตอาการของลูกนกกระจอกเทศหากพบอาการผิดปกติให้รีบหาสาเหตุและ
แก้ไขโดยทันที
2. ภาชนะที่ให้อาหารควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง และให้อาหารนกกระจอกเทศเล็กครั้งละ
น้อยๆ วันละ 4 - 5 ครั้งส่วนภาชนะที่ให้น้ำควรทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และมีน้ำให้นกกระจอกเทศกิน
ตลอดเวลาด้วย
3. เมื่อลูกนกกระจอกเทศสมบูรณ์และแข็งแรงดีแล้ว ควรปล่อยให้ลูกนก ออกไปเดินเล่นด้วย ซึ่งจะทำให้
ลูกนกแข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4. ตรวจสุขภาพของลูกนกกระจอกเทศเป็นประจำทุกวันตลอดจนสภาพแวดล้อม การระบายอากาศและ
สภาพของวัสดุรองพื้นให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม
5. บันทึกอัตราการตาย การกินอาหาร การให้ยาหรือวัคซีน การเจริญเติบโต ตลอดจนข้อมูลต่าง ๆ ที่จะ
เป็นประโยชน์ในการพิจารณาแก้ไขเมื่อเกิดปัญหาขึ้น
การเลี้ยงนกกระจอกเทศรุ่น (อายุ 4 - 23 เดือน)
การเลี้ยงและการจัดการในระยะนี้มีความสำคัญมาก เพราะเป็นช่วงที่นกกระจอกเทศมีการเจริญเติบโต
เร็วมาก ซึ่งมีน้ำหนักตัวไม่สอดคล้องกับขานกที่มีขนาดเล็ก จึงมักจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับขารับน้ำหนักไม่ไหว หรือขา
ผิดปกติ ดังนั้นเพื่อให้ได้นกกระจอกเทศที่ดีจึงต้องเอาใจใส่เป็นอย่างมาก ซึ่งมีแนวทางการเลี้ยงดู ดังนี้
1. ใช้อาหารสำหรับนกกระจอกเทศรุ่นที่ประกอบด้วยพลังงาน 2,400 กิโลแคลลอรี่ โปรตีน 18% แคลเซียม
1.6% ฟอสฟอรัส 0.8% และเสริมด้วยหญ้าแห้งหรือหญ้าสด นอกจากนี้ควรควบคุมน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศ อย่าให้
น้ำหนักเพิ่มเร็วเกินไปเพราะขายังพัฒนาไม่เต็มที่ที่จะรับน้ำหนักตัวนกกระจอกเทศที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว
2. ควบคุมการระบายอากาศภายในโรงเรือน ส่วนบริเวณภายนอกสำหรับให้นกกระจอกเทศเดินเล่น
จะต้องระมัดระวังอย่าให้มีเศษวัสดุ เช่นเศษผ้า เหล็ก ตะปู ฯลฯ ตกหล่นอยู่ เพราะนกจะจิกกินซึ่งอาจจะทำให้
นกกระจอกเทศตายได้ (Herdware Disease)
3. จัดอัตราส่วนพื้นที่ให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศซึ่งกำหนดพื้นที่ให้ตัวละ 1.5 ตารางเมตร
สำหรับในบริเวณที่เป็นโรงเรือนและบริเวณด้านนอกที่วิ่งเล่นตัวละอย่างน้อย 200 ตารางเมตร และไม่ควรเลี้ยงรวม
เป็นฝูงเดียวกันมากกว่า 40 ตัว
4. เพิ่มภาชนะให้น้ำและอาหารให้เหมาะสมกับจำนวนนกกระจอกเทศ ที่เลี้ยงในแต่ละฝูง และควร
ทำความสะอาดภาชนะที่ให้น้ำและอาหารเป็นประจำทุกวัน
5. ไม่จำเป็นต้องให้แสงไฟในเวลากลางคืน นกกระจอกเทศจะได้รับแสงสว่างตามธรรมชาติก็เพียงพอแล้ว
6. จดบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับการใช้อาหาร อัตราการตาย การเจริญเติบโตและอาการผิดปกติต่าง ๆ
การเลี้ยงนกกระจอกเทศพ่อ - แม่พันธุ์ (อายุ 2 ปีขึ้นไป)
นกกระจอกเทศที่ได้รับการเลี้ยงดูอย่างถูกต้อง จะเริ่มให้ผลผลิตและผสมพันธุ์ได้ เมื่อเพศเมียอายุ 2 ปี
ขึ้นไป และเพศผู้ 2.5 ปีขึ้นไป และจะให้ผลผลิตติดต่อกันนานถึง 40 ปี ดังนั้น เพื่อให้ได้รับผลผลิตอย่างสม่ำเสมอ
จึงควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ให้อาหารที่ประกอบด้วยโปรตีน 15-17% พลังงาน 2,300 - 2,600 กิโลแคลลอรี่ แคลเซียม 1.8%
ฟอสฟอรัส 0.9% ให้อาหารวันละ 1-3 กิโลกรัมต่อตัว และควรเสริมด้วยหญ้า นอกจากนี้จะต้องมีหินเกล็ดตั้งไว้ให้
นกจิกกินด้วย เพื่อจะช่วยในการย่อยที่กระเพาะบด
2. ภาชนะที่ให้น้ำและอาหาร ควรทำความสะอาดทุกวันและมีน้ำตั้งให้กินตลอดเวลา
3. อัตราส่วนที่ใช้ผสมพันธุ์ คือ เพศผู้ 1 ตัว ต่อเพศเมีย 1 - 3 ตัว
4. จัดพื้นที่ให้เหมาะสม โดยใช้พื้นที่ด้านภายในโรงเรือนตัวละ 5-8 ตารางเมตร และบริเวณลานตัวละ
400 - 500 ตารางเมตร และควรเลี้ยงฝูงละ 2 - 4 ตัว (เพศผู้ 1 ตัว เพศเมีย 1-3 ตัว) เท่านั้น
5. เก็บไข่ออกทุกวัน และนำไปรวบรวมไว้ในห้องควบคุมอุณหภูมิ เพื่อรอการเข้าตู้ฟัก แต่จะต้องมีไข่
ปลอมวางไว้เพื่อให้แม่นกกระจอกเทศไข่ติดต่อไปเรื่อย ๆ และควรจะขังนกกระจอกเทศไว้ด้านนอกโรงเรือนก่อนที่
จะเก็บไข่ออก เพราะนกกระจอกเทศช่วงผสมพันธุ์จะดุร้าย อาจทำอันตรายได้
6. ตรวจสุขภาพนกกระจอกเทศทุกวัน หากมีปัญหาหรือผิดปกติต้องรีบแก้ไขโดยทันที
7. ตรวจดูสุขภาพภายในโรงเรือนเป็นประจำทุกวัน หากอุปกรณ์ใดชำรุดจะต้องรีบซ่อมแซมให้อยู่ใน
สภาพที่ใช้งานได้ทันทีหรือแก้ไขให้เหมาะสมที่จะใช้งานได้ต่อไป
8. จดบันทึกการให้ผลผลิต การตาย การกินอาหาร การให้ยาและวัคซีน และอื่น ๆ เป็นประจำทุกวัน
ผลผลิตจากนกกระจอกเทศ
นกกระจอกเทศจะส่งเข้าโรงงานแปรรูปเมื่ออายุ 12-14 เดือน ซึ่งจะมีน้ำหนักประมาณ 85-110 กิโลกรัม
ผลผลิตที่สำคัญคือ
1. หนัง ประมาณตัวละ 1.2-1.4 ตารางเมตร ซึ่งหนังของนกกระจอกเทศมีคุณภาพดีและราคาสูงมาก
แพงกว่าหนังจระเข้ นิยมนำไปทำรองเท้าบู๊ต กระเป็า เข็มขัด เสื่อแจ๊คเก็ต ส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น
2. เนื้อ มีสีแดงและรสชาดคล้ายเนื้อวัว แต่ไขมันและโคเลสเตอรอลต่ำกว่าเนื้อวัวมาก ซึ่งจะเหมาะสม
สำหรับผู้มีปัญหาเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพ และผู้ไม่นิยมรับประทานเนื้อวัว ซึ่งราคาในต่างประเทศประมาณกิโลกรัมละ
500-800 บาท
3. ขน นกกระจอกเทศสามารถให้ขนได้ปีละ 2 ครั้งประมาณ 1.5-2 กิโลกรัม ซึ่งนำไปใช้ทำเครื่องประดับ
ตบแต่งเสื้อผ้า ดอกไม้ และที่สำคัญคือ ใช้ทำไม้ปัดฝุ่น ใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องอิเลคโทรนิคที่บอบบาง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น